ทีโอที ผนึกกำลัง MOU ม.มหิดล นำเทคโนโลยี 5G สร้างประโยชน์บริการสาธารณสุข ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดันเฮลท์แคร์และอุตสาหกรรมเฮลท์เทคของไทย

พฤหัส ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๐๙:๔๑
ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ 2 ฝ่าย ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดย นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ บมจ.ทีโอที รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมเตรียมติดตั้งเสาสัญญาณ 4G/5Gที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนานำความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย 4G/5G กับความก้าวหน้าระบบการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านบริการสาธารณสุข (Public Healthcare) และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Health Tech) ของประเทศไทย พลิกโฉมวิถีชีวิตทั้งของคนไทยและคนทั่วโลก

นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ บมจ.ทีโอที รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ทีโอที ยินดีที่ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีผลงานและความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและเครื่องมือทางการแพทย์ ที่เป็นประโยชน์ โดยร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยี 4G และเทคโนโลยี 5G ย่านความถี่ mmWave

ซึ่งปัจจุบันเป็นย่านความถี่ที่เป็นที่สนใจระดับสากล เน้นการใช้งานในพื้นที่ที่มีปริมาณการใช้งานสูงหรือมีความต้องการอัตราข้อมูลที่สูงมาร่วมพัฒนา สร้างประโยชน์สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณสุขให้กับประเทศ ได้อย่างเท่าเทียม และสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล เพื่อให้บริการ Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกลด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมประเทศให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยนักวิจัยรุ่นใหม่แทนการใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ โดยเทคโนโลยี 4G / 5G จะสร้าง Big Data ขนาดใหญ่ในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของ 2 ฝ่าย ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันผนึกกำลังท่ามกลางกระแสยุคดิสรัพชั่น สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพความแข็งแกร่งทางด้านโทรคมนาคมและการศึกษาวิจัย รวมถึงการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากำลังคน บุคลากร นักวิจัยและนักศึกษา ให้มีองค์ความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายกับการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ รวมถึงการนำระบบสารสนเทศ Network มาใช้ในการพัฒนาด้านการสาธารณสุข (Public Healthcare) และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Health Tech) ในประเทศไทย นับเป็นการยกระดับการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายการสื่อสาร โดยประหยัดพลังงานและต้นทุน นอกจากนี้ ยังเป็นการผลักดันส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ และที่สำคัญช่วยลดความ

เหลื่อมล้ำ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็งอีกด้วย

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ มีระยะเวลา 5 ปี โดยระยะแรกจะเป็นการนำระบบเทคโนโลยี 4G ของ ทีโอที มาสนับสนุนระบบสารสนเทศในการติดต่อต่อสื่อสารของ Mobile Stroke Unit ภายในบริเวณสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั้งนี้ เป็นรถพยาบาลเคลื่อนที่รักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Mobile Stroke Unit) ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ทำให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทำงานร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการลดอัตราการเสียเสียชีวิตและพิการของผู้ป่วย รวมถึงการติดตั้งเสาสัญญาณสื่อสาร 4G/5G ในพื้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนบริการสถานีน้ำมัน ปตท. 4 แห่ง รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีความเร็วสูงด้านการสาธารณสุข อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ การวิจัยด้านการแพทย์ เพื่อตอบโจทย์เพิ่มขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมเฮลท์เทคของประเทศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมที่จะร่วมทำงานและสนับสนุนความก้าวหน้าเชิงวิชาการกับทีโอที ทั้งในทางทฤษฎี ทักษะปฏิบัติและ Soft Skills ด้วยองค์ความรู้และห้องปฏิบัติการที่ก้าวล้ำมากมาย เช่น 1. ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม (Innogineer Studio) เปรียบเสมือนเวิร์คช็อปบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพครบครันเครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีและเมคเกอร์สามารถเข้ามาทำโปรเจคต่าง ๆ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์จากความฝันสู่ความเป็นจริง

2. Innogineer BAY ศูนย์ฝึกหัดด้านหุ่นยนต์และระบบ AI ที่ทันสมัยระดับโลก 3. Digital Forensics Lab ศูนย์นิติวิศวกรรมและการสืบค้นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 4. BART LAB ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ 5. University-Industry Co-Working Space ศูนย์บริการนวัตกรรมและให้คำปรึกษาแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 6. ศูนย์ LogHealth นอกจากนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ศึกษาวิจัยและออกแบบพัฒนาระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาล และดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบ Big Data เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาคสาธารณสุขของประเทศ (Healthcare Logistics Big Data) ตลอดจนห้องปฏิบัติการและศูนย์วิจัยที่เชี่ยวชาญก้าวล้ำของคณะต่างๆ ใน ม.มหิดล อีกด้วย รวมทั้งโครงการในอนาคต อาทิเช่น ศูนย์ทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์, ศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ