สกสว. หนุนวิจัยยกระดับการเลี้ยงปลานิลเพิ่มมูลค่าหมื่นล้าน

ศุกร์ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๐๙:๒๘
หน่วยงานด้านการวิจัย สกสว. ชู "นวัตกรรม IPRS" การเลี้ยงปลานิลในระบบปิด ยกระดับการเลี้ยงปลานิลของประเทศ ที่มีผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 250,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางการผลิตกว่า10,000 ล้านบาท

เมื่อไม่นานมานี้ รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการภารกิจการกำกับและติดตามการใช้งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย รศ.ดร. ประภาพร ขอไพบูลย์ ผู้ประสานงานสำนักประสานงานชุดโครงการ "นวัตกรรมการพัฒนาเกษตรกรสู่เกษตรสมัยใหม่" ผศ.ดร. พงษ์เทพ วิไลพันธ์ ผู้ประสานงานสำนักงานประสานงานวิจัยและพัฒนา "ทรัพยากรสัตว์น้ำ และความมั่นคงอาหาร" และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการ "การประยุกต์ใช้นวัตกรรม In-Pond Raceway System (IPRS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย" ณ ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิม มานิตย์ฟาร์ม

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ กล่าวว่า ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 200,000-250,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางการผลิตกว่า10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามีมูลค่าสูงสุดในกลุ่มสัตว์น้ำจืดทั้งหมด แต่การเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลประสบกับภาวการณ์ขาดทุนจากการตายเฉียบพลัน อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับการแปรปรวนของสภาพแวดล้อมทางอากาศ รวมถึงต้นทุนภาวการณ์ขาดทุนจากการเกิดโรคระบาด และ การให้อาหารแบบไม่มีประสิทธิภาพ หรือ เกินความจำเป็น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาอาหารปรับสูงขึ้น กระทั่งกลายเป็นของเสียที่มักถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะสร้างมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

"ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สกสว.ในฐานะหน่วยงานด้านการวิจัย จึงร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ ประสบการณ์ด้านวิชาการ แก่คณะทีมวิจัยโครงการ "การประยุกต์ใช้นวัตกรรม In-Pond Raceway System (IPRS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย" โดยความร่วมมือระหว่าง ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ภายหลังเปลี่ยนเป็น สกสว.กับ ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิม มานิตย์ฟาร์ม" รศ.ดร.ธงชัย กล่าวและว่า

ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายกำหนดให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าและการเกษตรของประเทศในทุกมิติ สกสว.ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดทำแผนและนโยบายการวิจัย ตระหนักถึงการพัฒนาด้านการเกษตรในปัจจุบัน ให้เป็นเกษตรกรที่มีองค์ความรู้ และรู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้ ตามหลักการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเริ่มจากการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่า BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)

อย่างไรก็ตาม คณะนักวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยนักวิชาการที่มีประสบการณ์วิจัยด้านปลานิลมาอย่างยาวนาน และ บริษัทมานิตย์ เจเนติกส์ ผู้ประกอบการที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล ได้ประสานความร่วมมือ ดำเนินการศึกษาทดลองระบบ In-Pond Raceway System (IPRS) ซึ่งเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาในระบบปิด โดยลดการใช้พื้นที่ และ ลดข้อจำกัดด้านการจัดการคุณภาพน้ำ การให้อาหาร การควบคุมโรค การจัดการของเสีย รวมถึงการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เพื่อนำองค์ความรู้ เทคนิคจาการข้อค้นพบการวิจัยไปพัฒนาองค์ความรู้ และ ถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการที่มีความสนใจ

ด้าน ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวถึงวัตถุประสงค์การวิจัยนี้ว่า เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเลี้ยงปลานิลในระบบ IPRS โดยพิจารณาจากค่าอัตราการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการแลกเนื้อ ค่าประสิทธิภาพในการใช้อาหาร อัตรารอดของปลา เปรียบเทียบกับปลานิลที่เลี้ยงในระบบบ่อดินแบบดั้งเดิม รวมถึงการวิเคราะห์หาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน ผลผลิตปลา/พื้นที่ ต้นทุนทั้งหมด ค่าเสื่อมราคา รายได้ทั้งหมด กำไรสุทธิ ในการเลี้ยงปลาในระบบ IPRS เปรียบเทียบกับการเลี้ยงในระบบบ่อดินแบบดั้งเดิม ตลอดจนการศึกษาคุณภาพเนื้อสัมผัสของเนื้อปลาและการปนเปื้อนกลิ่นโคลนของผลผลิตปลานิลในระบบ IPRS เปรียบเทียบกับการเลี้ยงในระบบบ่อดินแบบดั้งเดิม

"โดยข้อมูลทางวิชาการ รูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการระบบสำหรับการเพาะเลี้ยงปลานิล รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับการเพาะเลี้ยงปลานิลในเกษตรกรทุกระดับ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ นอกจากการเลี้ยงปลานิล ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาในประเทศไทยสู่ตลาดโลก"

ขณะที่ นายอมร เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บ.มานิตย์ เจเนติกส์ กล่าวว่า ระบบการเลี้ยงปลานิลในรูปแบบ IPRS ซึ่งเป็นรูปแบบการเลี้ยงระบบปิด ใช้การหมุนเวียนน้ำภายในระบบตลอดการเลี้ยง น้ำจะต้องมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยการใช้แรงดันลมจากอุปกรณ์ให้อากาศ (blower) อุปกรณ์ให้อากาศจะถูกติดตั้งอยู่ตามจุดต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมต่อการทำให้น้ำภายในบ่อมีการเคลื่อนที่ ทั้งในส่วนที่เป็นบ่อดิน และ ส่วนที่เป็นบ่อซีเมนต์ (raceway cell) เพื่อศึกษาความแตกต่างของการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน และ บ่อซีเมนซ์ โดยเฉพาะกลิ่นโคลนในเนื้อปลา และรูปร่างขนาดของปลานิล

ที่สำคัญการพัฒนาระบบการเลี้ยงปลานิลในรูปแบบ IPRS นอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนแล้วนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจการเลี้ยงปลานิลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมยิ่งส่งผลให้ระบบอุตสาหกรรมของไทยมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ