โดยวันนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าตรวจสอบการดำเนินงานก่อสร้าง โดยมีเจ้าหน้าที่ สทนช. พร้อมคณะที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารพร้อมให้ข้อมูลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าฝุ่นในพื้นที่ก่อสร้างอาคารของ สทนช. อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ เนื่องจาก ก่อนดำเนินการก่อสร้าง สทนช. และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันศึกษาสำรวจ ออกแบบอาคาร และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไว้แล้ว โดยตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2562 ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด ในด้านคุณภาพอากาศ (ฝุ่น) ดำเนินการล้อมรั้วพื้นที่โครงการก่อสร้าง การทำความสะอาดถนนและเส้นทางการสัญจรทั้งภายในและภายนอกโครงการ การล้างล้อรถทุกคันก่อนออกจากโครงการ การใช้วัสดุปิดคลุมกองดินและรถบรรทุกขนดิน เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ อากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน โดยเฉพาะคุณภาพอากาศ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 2 จุด ตั้งอยู่ภายในและภายนอกโครงการด้วย
สำหรับอาคารแห่งนี้ นอกจากจะใช้เป็นที่อาคารที่ทำการของ สทนช. แล้ว ยังจะใช้เป็นศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ ศูนย์กลางการบริหารงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สามารถรองรับการประชุมระดับนานาชาติได้ รวมทั้งยังจะใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นศูนย์วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรมด้านทรัพยากรน้ำ ตลอดจนใช้เป็นศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจในกรณีเกิดปัญหาวิกฤตน้ำที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในด้านสถาปัตยกรรมอาคารแห่งนี้ยังเป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability for New Construction (TREE-NC) ของสถาบันอาคารเขียวไทย ที่ก่อสร้างให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย