รองฯ วิชาญ ลงพื้นที่จ.ระยอง เตรียมความพร้อม จนท.ประมงรักษามาตรฐานการตรวจเครื่องมือประมง 22 ชนิด เพื่อออกใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์รอบปี 63-64

ศุกร์ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๐๙:๐๙
ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ระยอง) ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่จังหวัดระยองมอบนโยบายการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่จังหวัดชายทะเลภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 75 นาย เพื่อซักซ้อมและสร้างความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการตรวจเครื่องมือประมงที่แจ้งความประสงค์ขอรับการตรวจเครื่องมือประมงก่อนออกทำการประมงครั้งแรก สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์รอบปี การประมง 2563 - 2564 ตามมาตรฐานที่กรมประมงกำหนด

ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ 17 มกราคม 2563 เรื่อง กำหนดห้วงเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์สำหรับ ปีการประมง 2563 – 2564 พ.ศ. 2563 ข้อที่ 5 ลำดับที่ 4 ได้กำหนดให้การออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์เครื่องมือที่ได้รับอนุญาตจะต้องผ่านการตรวจเครื่องมือประมงตามมาตรฐานที่กรมประมงกำหนดไว้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการดัดแปลงหรือปรับปรุงเครื่องมือประมงทะเลให้ผิดไปจากมาตรฐานอันอาจจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศได้ อีกทั้งเพื่อเป็นการชี้แนะชาวประมงมิให้ใช้เครื่องมือประมงผิดไปจากที่กรมประมงอนุญาตซึ่งมีความผิดและมีบทลงโทษที่รุนแรง โดยทางกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลได้จำแนกประเภทและชนิดของเครื่องมือประมงทะเลไว้ทั้งหมดจำนวน 10 ประเภท 21 ชนิด ประกอบด้วย 1)ประเภทอวนล้อมจับ ได้แก่ อวนล้อมจับ และอวนล้อมจับปลากะตัก 2)ประเภทอวนลาก ได้แก่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง และอวนลากคู่ 3)ประเภทคราด ได้แก่ คราดหอยลาย คราดหอยแครง และคราดหอยอื่น 4)ประเภทอวนช้อน/อวนยกได้แก่ อวนช้อนปลาจาละเม็ด และอวนช้อน/ยกปลากะตัก 5) ประเภทอวนครอบ ได้แก่ อวนครอบหมึก และอวนครอบปลากะตัก 6)ประเภทอวนติดตา ได้แก่ อวนติดตา 7) ประเภทอวนรุน ได้แก่ อวนรุนเคย 8)ประเภทลอบ ได้แก่ ลอบปลา ลอบปู ลอบหมึก และลอบหมึกสาย 9)ประเภทเบ็ด ได้แก่ เบ็ดมือ และเบ็ดราว 10) ประเภทเครื่องมืออื่น ได้แก่ แผงยกปูจักจั่น และเครื่องมือช่วยทำการประมง 1 ชนิด ได้แก่ เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ) ดังนั้นเพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการตรวจมาตรฐานเครื่องมือประมงตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ กรมประมงจึงได้กำหนดจัดการประชุม และ จัดกิจกรรม workshop ขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล

สำหรับการซักซ้อมและสร้างความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการตรวจเครื่องมือประมงและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมง

กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ได้กำหนดจัดขึ้นทั้งหมดจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 18 ก.พ.63 ณ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) และ ครั้งที่ 2

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 28 ก.พ.63 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก

(ระยอง)

โดยผู้ที่รับใบอนุญาตฯ ทางกรมประมงจะเริ่มดำเนินการตรวจสอบเครื่องมือประมงระหว่างวันที่

16 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากเรือประมงของท่านไม่ผ่านการตรวจเครื่องมือประมงจะไม่สามารถออกทำการประมงได้

สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบทางกรมฯ จะแบ่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มเรือประมงที่ต้องแจ้งเข้า-ออก (เรือมีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส) และเรือประมงที่ใช้เครื่องมือประมง 6 ชนิด คือ 1. อวนลากคู่ 2. อวนลากแผ่นตะเฆ่ 3. อวนลากคานถ่าง 4. อวนล้อมจับ 5.อวนล้อมจับปลากะตัก 6.อวนครอบปลากะตัก ที่มีขนาดตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไปจะได้รับการนัดและตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าแจ้งออก (PIPO) ในเขตพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล

2. กลุ่มเรือประมงที่ไม่ต้องแจ้งเข้า-ออก (เรือมีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส) ใช้เครื่องมือประมง 6 ชนิด คือ 1.อวนลากคู่ 2.อวนลากแผ่นตะเฆ่ 3.อวนลากคานถ่าง 4.อวนล้อมจับ 5.อวนล้อมจับกระตัก 6.อวนครอบปลากะตักและเรือที่มีขนาด 10-29.99 ตันกรอสที่ใช้เครื่องมือประมงชนิดอื่นนอกเหนือ 6 ชนิดเครื่องมือข้างต้น จะได้รับการนัดและตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลในเขตพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล

นอกจากนี้ ทางกรมประมงได้จัดทำระบบตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงขึ้น สำหรับใช้ในการตรวจเครื่องมือของเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ โดยระบบดังกล่าวจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการลงนัดวัน เวลา และสถานที่ในการเข้าตรวจสอบเครื่องมือทำการประมง การบันทึกผลการตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงเพื่อให้ข้อมูลจากการตรวจสอบมีความถูกต้องแม่นยำของมากยิ่งขึ้น การตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงเป็นหนึ่งในมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำไม่ให้เกินค่าปริมาณสัตว์น้ำที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ (TAC) ดังนั้นเรือประมงพาณิชย์ทุกลำที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมง รอบปีการประมง 63-64 จะต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือประมงให้เป็นไปตามที่กรมประมงอนุญาตก่อนออกทำการประมง สำหรับท่านใดต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล โทร.02-561-0880

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version