นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group ผู้นำธุรกิจแบบครบวงจร ด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม บริการสาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจิทัลแพลตฟอร์ม เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานงวดปี 2562 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไร จากการลงทุนในบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า 13,385.8 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 3,229.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโต 21.1%
สำหรับการเติบโตเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานปี
2562 มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการโอนที่ดินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
จากยอดขายที่ดินทั้งหมดในปีที่ผ่านมา 1,010 ไร่ โดยประมาณ 70%
ของยอดขายที่ดินดังกล่าวมาจากกลุ่มลูกค้าจากประเทศจีน และไต้หวัน ที่มีการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย
จากสถานการณ์สงครามการค้าโลก และต้นทุนการผลิตในประเทศจีนปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค
อีกทั้งการสนับสนุนของภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
EEC ผลักดันต่อภาพรวมการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยอดการเช่าพื้นที่สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ เติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้ โดยมียอดเช่าอาคาร 250,000 ตารางเมตร ซึ่งมาจากการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการอาคารคลังสินค้า เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซสูงขึ้น
สำหรับธุรกิจการให้บริการสาธารณูปโภค
บริษัทฯ มีรายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขายและให้บริการน้ำ
โดยเฉพาะน้ำเพื่ออุตสาหกรรมที่บริษัทได้ให้บริการตามความต้องการใช้น้ำของลูกค้านิคมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะลูกค้าในธุรกิจโรงไฟฟ้า
นอกจากนั้นในปี 2562 ที่ผ่านมา WHA Group ได้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคในเวียดนาม
โดยการเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจน้ำประปารายใหญ่ที่สุดในฮานอย
ถือเป็นก้าวสำคัญในการที่บริษัทฯ
เพิ่มความสามารถในการให้บริการสาธารณูปโภคไปยังต่างประเทศ
และสร้างโอกาสในการเติบโตในรายของธุรกิจการให้บริการสาธารณูปโภคอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ส่วนของธุรกิจไฟฟ้า
บริษัทฯได้มีการเปิดดำเนินการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษของยุโรป ขนาด 8.63 เมกะวัตต์ ในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
ได้มีมติอนุมัติการจ่ายปันผลประจำปี 2562 เพิ่มอีกในอัตราหุ้นละ0.0535
บาท สะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในช่วงโค้งสุดท้ายของปี
2562 โดยกำหนดวัน XD วันที่ 8 พ.ค. 2563
และวันจ่ายปันผล ณ วันที่ 25 พ.ค.
2563 ตามลำดับ
ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2563 บริษัทฯตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ประมาณ 15-20% เมื่อเทียบจากปีก่อน จากการเน้นย้ำความเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจหลัก ๆ ของบริษัท โดยมุ่งขยายธุรกิจทั้งในประเทศและ ต่างประเทศให้เติบโตยิ่งขึ้น ทั้ง 4 ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย
ดับบลิวเอชเอ โลจิสติกส์ ในปี 2563 ตั้งเป้ายอดเช่าอาคารไว้ที่ 250,000 ตารางเมตร ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่คลังสินค้าภายใต้การถือครองและบริหารรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2,560,000 ตารางเมตร นอกเหนือจากพื้นที่คลังสินค้าที่มีอยู่ในประเทศไทยและอินโดนีเซียแล้ว บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสการขยายธุรกิจเพิ่มเติมในเวียดนามด้วย นอกจากนี้บริษัทฯมีแผนขายสินทรัพย์เข้ากอง REIT ราว 150,000 ตร.ม.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (WHAID) อยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 11 ของกลุ่ม (นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36) ในช่วงปลายปี 2563 และขยายนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 4 และพัฒนานิคมอุตสาหกรรมใหม่อีก 3 แห่งภายในปี 2566 ส่วนนิคมอุตสาหกรรมเวียดนาม บริษัทฯมีแผนเร่งเพิ่มยอดขาย โดยบริษัทฯตั้งเป้ายอดขายที่ดินในปี 2563 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,400 ไร่ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) จะเน้น High Value Product เช่น Reclamation Water และ Demineralized Water รวมถึงเสริมพอร์ทด้านพลังงานด้วยนวัตกรรมโซลูชันพลังงาน เช่น Smart Microgrid, Peer-to-Peer Energy Trading และ Energy Storage ในขณะที่ธุรกิจการให้บริการโซลาร์รูฟ ท็อป บริษัทฯตั้งเป้าเพิ่มการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้กับลูกค้าทั้งในนิคม WHA Group และนอกนิคม จำนวน 31 เมกะวัตต์ ในปี 2563 จากปัจจุบันที่มีการเซ็นสัญญาไปแล้วกว่า 35 เมกะวัตต์ ดันจำนวนเมกะวัตต์ตามสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 590 เมกะวัตต์ดับบลิวเอชเอ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ตั้งเป้าสนับสนุนการดำเนินงานทุกรูปแบบในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยการเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสำหรับดิจิทัล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล ช่วงปลายปี 2563 จะมีการติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก (FTTx) ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนในนิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่งในประเทศไทย