สกสว. - ภาคี จับคู่ ผู้ประกอบการกับนักวิจัย อัพเกรดสินค้านวัตกรรมไทยให้มีมูลค่าเพิ่ม เร่งส่งออกโต

พฤหัส ๐๕ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๐๓
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันคลังสมองของชาติ จับคู่ผู้ประกอบการ กับนักวิจัย ต่อยอดนวัตกรรมไทยเพิ่มมูลค่าสินค้าไทยส่งออก

ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “Smart Value Creation” ที่สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการจับคู่ผู้ประกอบการกับหน่วยงานนวัตกรรม ในการต่อยอดและพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรม โดยกิจกรรมนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับนักวิจัยจากหน่วยงานนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรมมีคุณภาพ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยในการส่งออก

รศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า การที่ไทยจะก้าวพ้นการประเทศที่มีรายได้จากการใช้แรงงานราคาถูก ต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย สถาบันคลังสมองของชาติ เล็งเห็นว่า องค์ความรู้จากนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ ที่จะสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มรายได้ให้กับประเทศได้ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่ากว่า 80 - 90 % ของโครงการวิจัยเป็นผลงานที่มีคุณภาพแต่เกิดจากการคิดเอง ทำเอง ของนักวิจัย ที่ยังขาดการเติมเต็มในส่วนของออกแบบไปถึงผู้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จริง ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. มีดำริเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้การออกแบบกลไกการทำงาน กล่าวคือ ให้ผู้ประกอบการ สามารถเสนอโจทย์วิจัยที่น่าสนใจได้ พร้อมลงทุนในส่วนของการวิจัยส่วนหนึ่ง และรัฐจะหนุนเงินเข้าไปเพิ่มให้ 10 เท่า ซึ่งสถาบันคลังสมองมีแผนการทำงานที่จะดำเนินการตามดำริดังกล่าวเนื่องจากเล็งเห็นว่า เป็นกลไกสำคัญที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางภาคเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในขณะที่ ผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการภารกิจส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สกสว. ได้ให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการและนักวิจัยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ภายใต้การบรรยายหัวข้อ “แหล่งให้ทุนและงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ” ว่า ที่ผ่านมางานวิจัยและนวัตกรรมเหมือนอยู่คนละโลกกับภาคธุรกิจ นักวิจัยมุ่งเน้นผลงานตีพิมพ์ แต่ปัจจุบันนักวิจัยเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการผลักผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับที่ภาคธุรกิจเล็งเห็นว่า งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานสำคัญที่จะช่วยสร้างคุณภาพและความแตกต่างให้สินค้าของตน ดังตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้าที่ประสบความสำเร็จ

เมื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาสินค้าเช่น ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นภายใต้แบรนด์ “บานาน่า โซไซตี้” ที่เพิ่มมูลค่าสินค้าจากกล้วยน้ำว้ากิโลกรัมละ 25 บาท ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์โดมพาราโบลา ที่จำหน่ายได้ในราคา 150 บาท/กิโลกรัม หรือกล้วยตากเคลือบช็อกโกแลต 560 บาท/กิโลกรัม น้ำส้มสายชูและไซรับจากกล้วย สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงถึง 820 บาท/กิโลกรัม หรือ สินค้าแบรนด์ “ปิ่นเพชร” ที่ผลิตและจำหน่ายมะขาม โดยในแต่ละปีบริษัทจะส่งออกเมล็ดมะขามขั้นต่ำเดือนละ 5 ตัน ไปยังประเทศญี่ปุ่นและจีนเพื่อสกัดเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี ที่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 2-3 บาท เมื่อผู้ประกอบการมีการทำงานร่วมกับนักวิจัย จึงทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เมล็ดมะขามออกมาเป็น เจลโลสจากแป้งเมล็ดมะขาม ซึ่งเป็นวัสดุคล้าย “เพคติน” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมอาหารที่ไทยต้องนำเข้า ปีละกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเจลโลสสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 5,000 - 12,000 บาท โดยทั้ง 2 เคส ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนา ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกสว. เดิม)

อนึ่งข้อสังเกตคือ ในส่วนของการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ใช้งบประมาณที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมักทำเสร็จแล้วไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้เกิดภาวะ “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ดังนั้นงานวิจัยในช่วงหลังจึงเป็นงานวิจัยที่ถูกดีไซน์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ต้องการมองหางานวิจัยเพื่อแมชชิ่งการพัฒนาสินค้าของตน ควรดูเกณฑ์ Technology Readiness Level (TRL) คือ การบ่งชี้ระดับความพร้อมและเสถียรภาพของเทคโนโลยีตามบริบทการใช้งานของงานวิจัยนั้นๆ ที่แบ่งออกเป็น 9 ระดับ โดยเลือกงานวิจัยที่มีการพัฒนาในระดับที่ 4 ขึ้นไป เนื่องจากผ่านกระบวนการวิจัยและทดลองเกินขั้นในห้องแล็บมาแล้ว

ทั้งนี้ปัจจุบัน สกสว. พร้อมช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยผ่านกลไกต่อไปนี้คือ 1.งบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรม ผ่านการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานให้ทุน หรือหน่วยงานที่ทำวิจัย 2.เชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้ประกอบการทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ 3.กลไกสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ 4.ส่งเสริมการตลาด โดยทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานอื่นๆ และ 5.ปลดล็อกข้อจำกัดทางกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ

ท้ายที่สุดจะเห็นได้ว่าการพัฒนานวัตกรรมจาก TRL 1 ไปยัง 9 เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณ รัฐสามารถหนุนได้ส่วนหนึ่งแต่เอกชนต้องลงทุนด้วย ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมออกจำหน่าย ต้องคำนึงถึงการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมถึงการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีข้อจำกัดในการจำหน่ายในสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำบรรยายภาพ

1. ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงาน ร่วมถ่ายภาพกับผู้บริหารจาก สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ

2. รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผอ.สถาบันคลังสมองของชาติ

3. ผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รอง ผอ.ภารกิจส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สกสว.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ