สำหรับการจำหน่ายผลผลิต ส่วนใหญ่เกษตรจำหน่ายให้กับโรงต้มถั่วที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 6 โรง ซึ่งมีความต้องการถั่วลิสงตลอดทั้งปี แต่ผลผลิตในพื้นที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้โรงต้มถั่วดังกล่าว รับซื้อถั่วลิสงจากภาคเหนือ และมีการนำเข้าจากประเทศพม่า จึงนับเป็นโอกาสดีที่เกษตรกรในพื้นที่จะหันมาปลูกถั่วลิสงทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งได้อีกทางหนึ่ง
ด้านนางจินตนา ปัญจะ ผู้อำนวยการ สศท.10 กล่าวเพิ่มเติมว่า การปลูกถั่วลิสง มีขั้นตอนการดูแลที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่การพรวนดินเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของผลผลิต การใช้ปุ๋ยเร่งดอกและเมล็ด รวมทั้งการใช้น้ำ ซึ่งเกษตรกรควรมีการบริหารจัดการด้านแรงงาน โดยการรวมกลุ่มการผลิต หรือการ “เอาแรง” ในพื้นที่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและปัญหาด้านแรงงานได้ ดังนั้น เกษตรกรควรวางแผนการเพาะปลูกและการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมเพียงพอต่อการผลิต และควรมีการบำรุง ดูแลรักษาที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้ง ควรเฝ้าระวังโรคแมลงกินใบและฝักถั่วลิสงที่จะสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตได้ ทั้งนี้ หากเกษตรกรสนใจข้อมูลการผลิตถั่วลิสงของจังหวัดราชบุรี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.10 โทร. 0 3233 7951 หรืออีเมล [email protected]