นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ตลาดหลักทรัพย์ไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก แม้ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันตั้งแต่เดือนมกราคม โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม จากผล CEO Survey Special Issue เดือนมีนาคม 2563 พบว่าบริษัทจดทะเบียนไทยมีแนวทางการรับมือกับวิกฤติโดยการเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานผ่านการทำงานออนไลน์และการประชุมทางไกล ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องกับภาวะตลาดและใช้ช่องทางการทำตลาดดิจิทัลมากขึ้น รวมถึงการหาแหล่งวัตถุดิบภายในประเทศทดแทนการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563 ปิดที่ 1,340.52 จุด ลดลง 15.1% จากสิ้นปีก่อน และ 11.5% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า โดย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยี ให้ผลตอบแทนมากกว่า SET Indexในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย 19,399 ล้านบาทมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมของ SET และ mai ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ 65,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.8% ค่าเฉลี่ยทั้งปี 2562Forward และ Historical P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ระดับ 14.1 เท่า และ 15.7 เท่าตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.6 เท่า และ 14.8 เท่าตามลำดับอัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ระดับ 3.9% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.0%มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของ SET และ mai ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ 14.6 ล้านล้านบาท ลดลง 13.9% จากสิ้นปี 2562ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มูลค่าการระดมทุนครั้งแรก (IPO) ของไทยอยู่ที่ระดับ 55,902 ล้านบาท ในขณะที่การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (SPO) มีมูลค่ารวม 1,786 ล้านบาท
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 538,565 สัญญา ซึ่งเพิ่มขึ้น 11.6% จากเดือนก่อน