เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่ปรับใหม่มีความสอดคล้องมากขึ้นกับทิศทางการพัฒนาการในด้านการแก้ปัญหาทางการเงินของธนาคาร(banksresolution) ซึ่งรวมถึงกรอบแผนการแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารและการเพิ่มขึ้นของตราสารหนี้ที่สามารถรองรับผลขาดทุน(bail-in)ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงให้กับเจ้าหนี้ที่มีลำดับการชำระหนี้ที่สูงกว่า(seniorcreditor) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโอกาศในการผิดนัดชำระหนี้และจำนวนเงินที่จะได้รับคืนเมื่อเกิดการผิดนัดชำระหนี้(recovery)ที่แตกต่างกันออกไปสำหรับตราสารหนี้ทั้งในประเภทไม่ด้อยสิทธิและในประเภทด้อยสิทธิทั้งนี้เกณฑ์มาตรฐาน (baseline) ที่จะใช้ปรับลดอันดับเครดิตของตราสารหนี้ด้อยสิทธิ(หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ) ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะเปลี่ยนเป็น 2อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating) ซึ่งจากเดิมคือที่ 1หรือ 2อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิงทั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทดังกล่าวอาจต้องขาดทุนในระดับสูงมากในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้(default)
ฟิทช์ประกาศให้สถานะ “อยู่ระหว่างสังเกตการณ์ผลกระทบจากการปรับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต” (Under CriteriaObservation หรือUCO)แก่อันดับเครดิตสากลของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ออกโดยธนาคารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค (APAC) ไปเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ซึ่งประกาศดังกล่าวรวมถึงหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BBL(BBB+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ)และของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank (BBB+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากประกาศเรื่อง “Fitch Places One IDR, Debt Ratings of 26 APAC BanksUnder Criteria Observation” ลงวันที่ 4 มีนาคม 2563
แม้ว่าอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจจะไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นUCO เช่นเดียวกันกับอันดับเครดิตสากล แต่เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตดังกล่าวจะถูกนำมาใช้และมีผลกระทบในลักษณะเดียวกันสำหรับอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทดังกล่าว
ปัจจุบันฟิทช์จัดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ 1ระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของธนาคาร ทั้งนี้ฟิทช์จะทำการประเมินอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทดังกล่าวเป็นรายกรณี(instrument-by-instrumentbasis) โดยอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจะถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมาที่เกณฑ์มาตรฐานหรือที่ 2อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง ยกเว้นในกรณีที่อาจไม่เข้าเงื่อนไขที่จำเป็นต้องมีการปรับลดอันดับเพิ่มเติ่มตัวอย่างเช่นหุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจจะยังคงถูกปรับลดอันดับลงเพียง 1อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิงได้ในกรณีความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้(lossseverity risk) นั้นถูกลดทอนลงจากการที่ธนาคารมีหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในระดับที่มากพอ; ในกรณีความเสี่ยงที่เจ้าหนี้จะไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ตามกำหนดนั้นสูงกว่าความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้; ในกรณีโอกาศที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือในบางส่วน(partialsupport) หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้; กรณีมีโอกาสที่ทางการจะเข้าให้การช่วยเหลือ(earlyregulatory intervention); หรือในกรณีที่มีตัวอย่างของการบรรเทาความเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้โดยทางการ
ฟิทช์คาดว่าจะทำการทบทวนและปรับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวโดยเร็วตามที่จะสามารถดำเนินการซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน
อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ออกโดยธนาคารดังกล่าวนี้ อาจได้รับผลกระทบจากการปรับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต:
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)และธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้อันดับเครดิตและปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวยังคงมีผลต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน และสามารถดูรายละเอียดได้จาก www.fitchratings.com แต่ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตเมื่อฟิทช์ได้ทำการพิจาณาอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวตามเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับใหม่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับปรับปรุง (Updated Bank RatingCriteria) ลงวันที่28 กุมภาพันธ์ 2563 (FitchRatings Publishes New, Enahanced Bank Rating Criteria)