ด้าน นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า สำนักอนามัยได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมการปกครอง กรมสรรพสามิต กองบัญชาการตำรวจนครบาล กรมกิจการเด็กและเยาวชน และกรมควบคุมโรค ร่วมตรวจสอบสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ สถานบันเทิง ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบการกระทำความผิด แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งติดตามควบคุมพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไม่ให้กระทำผิดซ้ำ ขณะเดียวกัน กทม. ได้จัดทำแนวเขตพื้นที่ (Zoning) บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาหรือหอพักบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ให้เป็นสถานที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน จำนวน 1,026 โซน นอกจากนั้น ยังได้เฝ้าระวังภัยยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ร่วมกันระหว่างกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และภาคประชาชน ได้แก่ อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร อาสาสมัครในสถานศึกษา จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในโครงการนักสืบตาสับปะรด คณะกรรมการชุมชน แกนนำเด็กและเยาวชนในโรงเรียน เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติดด้วย
- ๐๐:๔๐ ฟอร์ติเน็ต ชี้ องค์กร 61% กังวลเรื่องความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อบังคับ ในการใช้คลาวด์ดำเนินงานด้านไอที
- ๒๔ ก.พ. เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เผยองค์กรของไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์ มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 70%
- ๒๔ ก.พ. พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เตรียมองค์กรรับมือกับกระแสการรักษาความปลอดภัยเชิงควอนตัม ด้วย QRNG Open API กลุ่มผู้พัฒนาชั้นนำร่วมปูทางสู่อนาคตของความปลอดภัยเชิงควอนตัม