กองรีท BKER ผู้บริหารศูนย์การค้า เตรียมพร้อมเผยกลยุทธ์ 2020 ฝ่าวิกฤติโควิด-19

พฤหัส ๒๖ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๔
กองรีท BKER ผู้บริหารศูนย์การค้าทั้ง 10 โครงการ ได้แก่ ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์, เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา, เดอะคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์, อมอรินี รามอินทรา, แอมพาร์ค จุฬา, เพลินนารี มอลล์ วัชรพล, สัมมากร รามคำแหง รังสิต ราชพฤกษ์ และเดอะซีน ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์รวม 11,300 ล้านบาท พื้นที่โดยรวมประมาณ 500,000 ตร.ม. และพื้นที่ขายประมาณ 140,000 ตร.ม.

นางศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เค.อี. ได้กล่าวถึง สถานการณ์ภายหลัง กทม ประกาศ เรื่องการให้ศูนย์การค้าปิดชั่วคราว เว้นแต่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านอาหารประเภท delivery และ take home ธนาคาร ร้านขายอาหารสัตว์ หรือ ร้านขายของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม - 12 เมษายน 2563 ทำให้ทีมงานเร่งทำความเข้าใจกับร้านค้าถึงมาตรการของ กทม. ซึ่งทุกร้านค้าได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ในด้านเจ้าหน้าที่เขต ได้แสดงความมั่นใจ ภายหลังมาสำรวจศูนย์ฯว่า ศูนย์ฯทั้ง 10 แห่งภายใต้การบริหารของกองรีท BKER ได้ปฏิบัติตามแนวทางของภาครัฐและ กทม. รวมถึงการหาแนวทางร่วมมือกันต่อไป หากกรณีสถานการณ์ยืดเยื้อ ส่วนนโยบายในการให้ความช่วยเหลือร้านค้าที่ชัดเจน ได้แก่ การให้ส่วนลดร้านค้า การช่วยประสานธนาคารด้านการเงินให้กับร้านค้า การสนับสนุนและเพิ่มช่องทางด้านการตลาด การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในการสั่งอาหารจากร้านอาหาร เป็นต้น ส่วนในด้านกลยุทธ์การเติบโตได้มีการวางแผนงาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้ง 10 แห่งให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นทั้งด้านการบริหารรายได้ และการบริหารต้นทุน ส่วนการลงทุนในทรัพย์สินใหม่ปัจจุบันมีกว่า 40 แห่ง ที่แสดงความสนใจและให้ทำการศึกษา โดยอยู่ในกรุงเทพ 68% ต่างจังหวัด 22% และต่างประเทศ 10% นอกจากนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ปรับการบริหารงาน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในทุกด้าน ซึ่งได้จัดทำ “KE Tech Road Map” ในการพัฒนาทุกด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในทุกกลุ่มธุรกิจ

ด้านนายกวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ กรรมการ บริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด เผยกลยุทธ์หลักที่กองรีท BKER ได้เข้าไปบริหารทั้ง 10 โครงการ เน้นการสร้างสังคมชุมชนที่ให้ไลฟ์สไตล์แบบ welcoming, creative และ unique ที่ได้ทยอยเริ่มดำเนินการแล้ว แนวทางกลยุทธ์ ได้แก่

“Attract top-brand tenants and customize to each neighborhood” กลยุทธ์การปรับเพิ่มร้านค้าให้ตรงกลุ่ม และเพิ่มแบรนด์ดังใน sector ที่เป็นความต้องการในชีวิตประจำวัน อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟชื่อดัง ฟิตเนส ทำให้ Occupancy rate เพิ่มสูงขึ้น และมีข้อดีกับการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเช่าในอนาคต ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนแบรนด์ชั้นนำมีประมาณ 30%“Experiential place-making” กลยุทธ์การสร้างบรรยากาศใหม่ เช่น การมีสถานที่ที่เป็น community, meeting place หรือเป็นสถานที่สามารถทำงานได้ในบรรยากาศสบายๆ“Tech and operations platform” การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานทุกขั้นตอน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ“Cost reduction through synergy” การเพิ่มความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารศูนย์จากการมี economy of scale ปัจจุบัน เราสามารถลดค่าใช้จ่ายประเภท outsource contract เบื้องต้น ได้แก่ ยามและแม่บ้านได้กว่า 20% และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพลงได้กว่า 5%“Sustainability” การพัฒนาอย่างยั่งยืน การนำแนวทางลดหรือประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน ปัจจุบันได้ทำสัญญาในการทำโซลาร์เซลล์ ที่ ซีดีซี เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้ากว่า 20% โดยมีแผนงานต่อไปในโครงการอื่นๆ“Quality asset investment” การเข้าไปลงทุนในทรัพย์สินหรือโครงการใหม่ในอนาคตที่มีคุณภาพ

ภาพรวมศูนย์การค้าในกองทรัสต์ BKER ณ 31 ธันวาคม 2562 มี Occupancy โดยรวมอยู่ที่ 93 % โดยมีอัตราการต่อสัญญาที่มีอัตราค่าเช่าปรับสูงขึ้นได้เฉลี่ย 2.9% สำหรับอัตราการเติบโตของจำนวนรถเข้าศูนย์การค้า เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีอัตราการเติบโตของจำนวนรถเข้าศูนย์ (Traffic Growth) สูงขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 2562

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เคยนิยมใช้ชีวิตประจำวันในการมาคอมมูนิตี้มอลล์ หรือไลฟ์สไตล์มอลล์ ย่อมพบว่าชีวิตเปลี่ยนไป ตามบทความนิตยสารฟอร์บส์ ได้มีแนวคิดวิกฤติ เป็นโอกาสที่นอกจากเราจะสามารถช่วยกันในการอยู่แบบเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing แล้ว ข้อคิดที่น่าสนใจในการนำมาบริหารองค์กร หรือ บุคคล 1. More time ทำให้ทุกคนมีเวลาที่สามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้น 2. Reflect and reconsider ทำให้ทุกคนมีการพิจารณาไตร่ตรองในงานที่ทำ 3. Speed and Innovation ทำให้ทุกคนสามารถเพิ่มความเร็วของงานหรือนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างจริงจัง 4. Better meetings ทำให้การประชุมแม้จะน้อยครั้งแต่มีผลิตผลที่ดีขึ้น 5. Reconnect and help ทำให้เราทุกคนมีความคิดอยากที่จะติดต่อและช่วยเหลือกัน 6. Cleaner environment ทำให้สิ่งแวดล้อมเราสะอาดขึ้น 7. Modesty and acceptance ทำให้เกิดการยอมรับความจริงและพอเพียง

นางศุภานวิต ได้กล่าวเสริมตอนท้ายว่า กองรีท BKER เน้นการให้ความสำคัญในการพัฒนาให้กับทุกศูนย์การค้า ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในหลายด้าน ทั้งด้านร้านค้า บรรยากาศ และกลยุทธ์การตลาดเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้า สังคม และผู้ถือหน่วยลงทุน และที่สำคัญ BKER ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากในการให้เข้าทำการศึกษาโครงการ เพื่อการเข้าไปลงทุนในโครงการประเภทรีเทลที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version