วิตกกังวลจากโรคระบาด COVID-19 รับมืออย่างไร

พุธ ๐๑ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๓:๐๔
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ความเครียด ความวิตกกังวล และสับสน เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เราจะลดความวิตกกังวลที่ทำให้บั่นทอนจิตใจของเราอย่างไร เพราะนอกจากการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลจิตใจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้

นพ.วิทยา วันเพ็ญ จิตแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า แนะนำวิธีการรับมือกับความวิตกกังวลจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อ้างอิงจากประกาศราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีเคล็ดลับการดูแลจิตใจ 9 ควร 4 ไม่ควร มาฝากกัน

9 สิ่งที่ควรทำ

ควรรับข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลควรมาจากกระทรวงสาธารณสุข หรือถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารเรื่องของมาตราการเยียวยาช่วยเหลือจากภาครัฐ ควรเปิดรับจากหน่วยงานนั้นโดยตรงควรลดการเสพข้อมูลมากเกินไป เมื่อต้องอยู่บ้านตลอด หลายคนก็อาจมีโอกาสเสพหรือเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตลอดเวลา โดยเสพข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ย่อมไปกระตุ้นให้คิดมาก เกิดความรู้สึกเครียด วิตกกังวล ตื่นตระหนกมากขึ้น ดังนั้นควรรับข่าวสารหลังจากเวลาทำงาน หรือทำธุระส่วนตัวเสร็จก่อน และการรับข่าวสารควรรับเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันระมัดระวัง ดูแลตนเองตามหลักอนามัยดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เช่น การรับประทานอาหาร การนอน การออกกำลังกายตามปกติดูแลอารมณ์ ยอมรับในอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง หาสาเหตุสิ่งที่ทำให้เครียด และทำความเข้าใจในความเครียดที่เกิดขึ้น และระบายกับคนที่ไว้ใจ เพื่อลดความตึงเครียด มีสติรับมือกับปัญหาที่จะเข้ามาเพิ่ม ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตปกติอย่างฉับพลัน จนหลายคนไม่ทันตั้งตัว และไม่คุ้นชิน การตั้งสติจึงเป็นส่วนสำคัญมากในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น หางานอดิเรกที่เหมาะสม ที่ตนเองชอบ การหากิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายจากภาวะความตึงเครียดสื่อสารในสังคมออนไลน์ตามควร ในสิ่งที่เป็นความรู้และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยก่อนที่จะสื่อสาร โพสต์ หรือแชร์ข้อมูล ควรตรวจสอบความถูกต้อง และข้อมูลควรมาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้เข้าใจและเห็นอกเห็นใจความรู้สึกทุกข์ของผู้ติดเชื้อ COVID-19 และผู้เกี่ยวข้อง เพราะการแสดงท่าทีรังเกียจ จะทำให้บรรยากาศในสังคมยิ่งเป็นทุกข์ หมดกำลังใจ และความขุ่นข้องหมองใจนั้น สุดท้ายก็จะสะท้อนกลับมาที่จิตใจของเราเองส่งความใส่ใจ และการช่วยเหลือดูแลสังคม หากเราเปิดรับข่าวสารเรื่องการช่วยเหลือกัน จะเห็นน้ำใจของทุกคนในสังคมที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการแจกอาหารให้กับคนตกงานกินฟรี การเย็บหน้ากากผ้าเพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้ที่ขาดแคลน หรือกรณีที่ทุกคนช่วยกันร่วมบริจาค หรือเป็นสื่อกลางในการรับบริจาคไปยังโรงพยาบาลที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งดีๆที่ทำให้จิตใจเรามีความสุขได้

และ 4 สิ่งไม่ควรทำ 1. ไม่ควรแก้เครียดด้วยอบายมุข บุหรี่ แอลกอฮอล์2. ไม่ควรหาคนผิด ด่าว่ากันในสังคม3. ไม่ควรแสดงการรังเกียจกันในสังคม4. ไม่ควรแชร์ โพสต์ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ข้อปฏิบัติ 9 ควร 4 ไม่ควร นี้หากทุกคนในสังคมนำไปปฏิบัติ ปรับตัวในการใช้ชีวิตช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะสามารถช่วยลดความตึงเครียด และความวิตกกังวลให้คลายลงได้ และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ทุกคนก็จะยังคงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง พร้อมออกมาใช้ชีวิตปกติได้ตามเดิม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ