'อลงกรณ์’ ห่วงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID-19 เร่งประมงสรุปมาตรการช่วยเหลือภายในสัปดาห์นี้ ก่อนเสนอ รมว.กษ.เห็นชอบ

พฤหัส ๐๙ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๐:๑๖
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID – 19 เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา ร่วมกับกรมประมง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย โดยที่ประชุมได้รายงานผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคไวรัส COVID-19 เพื่อเร่งหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ โดยปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ต้องรีบดำเนินการคือการดูดซับปริมาณผลผลิตลูกกุ้งและกุ้งเนื้อ ที่เกษตรกรผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ : ซึ่งเบื้องต้นที่ประชุมได้มีข้อสรุป 3 มาตรการ คือ

มาตรการที่ 1 ระยะสั้น

รัฐเข้าไปช่วย 80 % ของราคาห้องเย็นซื้อกุ้งจากเกษตรกร ฟาร์มเกษตรกรต้องไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ ในการประเมินข้อมูลผลผลิตส่วนที่เหลือจากความต้องการของห้องเย็นควรจะใช้ตัวเลขผลผลิตที่ห้องเย็นต้องการใช้กุ้งจริงและตัวเลขผลผลิตกุ้งที่ผลิตได้แท้จริง ผลผลิตกุ้งส่วนที่ (เกษตรกรเป็นเจ้าของ) นำฝากห้องเย็นไว้ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บในห้องเย็นในระยะเวลา 3 เดือน โดยรัฐช่วยจ่าย 80% โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นที่ที่มีผลผลิตกุ้งออกมาปริมาณมาก ถ้าราคากุ้งดีขึ้นเกษตรกรก็สามารถมาไถ่ถอนจากการจำนำ โดยให้ที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยพิจารณาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และมีมติมอบหมายให้กรมประมงเสนอโครงการมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2563 และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ต่อไป

มาตรการที่ 2 ระยะกลาง

ขึ้นกับสถานการณ์และภาวะความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยตลาดภายในประเทศสร้างความร่วมมือจาก 3 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม สร้างระบบภายในประเทศโดยวางระบบการกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้พร้อมกันทั่วประเทศ และ

มาตรการที่ 3 ลดต้นทุน

โดยสั่งการให้กรมประมงทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าของผู้เลี้ยงกุ้งให้เป็นผู้ใช้ประเภท เกษตรกร ส่วนค่าอาหารกุ้ง และลูกกุ้งให้กรมประมงหาแนวทางขอลดราคา และลูกกุ้งให้ดำเนินการตามโครงการ คชก.

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปมาตรการให้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์นี้ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย และจะนำมติของคณะกรรมการฯ เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน