อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ HMC ที่ 'A-(tha)’ ได้มีการพิจารณารวมถึงการปรับเพิ่มอันดับเครดิตขึ้นหนึ่งอันดับจากสถานะเครดิตโดยลำพังของบริษัท (Standalone Credit Profile) ของ HMC ที่อยู่ที่ 'bbb+(tha)’ ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC (อันดับเครดิตที่ 'AA+(tha)’ แนวโน้มเครดิตเป็นลบ; สถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ 'aa-(tha)’) ซึ่งถือผู้หุ้นรายใหญ่ที่สุดของ HMC โดยถือหุ้นร้อยละ 41 ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาอันดับเครดิตในเรื่อง Parent and Subsidiary Rating Linkage
อันดับเครดิตโดยลำพังของ HMC สะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจ PP ในประเทศไทย ความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถมุ่งเน้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตได้ถูกลดทอนจากการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ที่จำกัด ความผันผวนของธุรกิจปิโตรเคมี และอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับปานกลาง
แนวโน้มเครดิตเป็นลบ สะท้อนถึงความเสี่ยงที่อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ อาจลดลงช้ากว่าที่คาดการณ์ หลังจากการลงทุนขนาดใหญ่ในช่วงปี 2563-2564 เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส ฟิทช์คาดว่า อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ ที่วัดจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO Net Leverage) จะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 4.5 เท่าในปี 2563-2564 เนื่องจากการลงทุนในการก่อสร้าง PP line 4 และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่อ่อนแอ
ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินจะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า
3.5 เท่าภายในปี 2565
เนื่องจากกระแสเงินสดที่ปรับตัวดีขึ้น
จากกำไรที่มากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการขยายกำลังการผลิต
และอุปสงค์และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น
หลังจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส อย่างไรก็ตาม
อัตราส่วนหนี้สินของ HMC อาจยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 3.5
เท่าอย่างต่อเนื่อง หากอุปสงค์
และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังคงอยู่ในระดับต่ำ
จากสภาวะเศรษกิจที่อ่อนแอ หลังปี 2564
ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต
ผู้นำในธุรกิจ PP ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: HMC เป็นผู้ผลิต PP รายแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 33 ในปี 2562 บริษัทฯ ยังเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจ PP ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำลังการผลิต PP ของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปีในปี 2565 หลังจาก PP line 4 แล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิต PP รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ สถานะทางการตลาดของบริษัทฯ ยังได้รับปัจจัยเสริมจากการที่บริษัทฯ มุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะตัว รวมถึงการผลิตวัตถุดิบบางส่วน โดยมีการผลิตโพรพิลีนจากโรงงาน Propane Dehydrogenation (PDH)
มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม: HMC มุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งจะมีการแข่งขันที่น้อยกว่าและมีอัตราส่วนกำไรที่สูงกว่า โดยบริษัทฯ มีสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 46 ของยอดขายในปี 2562 จากประมาณร้อยละ 35 ในปี2558 และมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มากกว่าร้อยละ 60 เมื่อ PP line 4 เริ่มผลิตเต็มที่ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีราคามากกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็น Commodity grade โดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ5 ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีอัตราส่วนกำไรสูงกว่า คู่แข่ง
HMC ขายผลิตภัณฑ์ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 75 ให้กับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (ประมาณร้อยละ 40 เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น และร้อยละ 35 เป็นบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป) แต่บริษัทฯ มุ่งเน้นในการขายผลิตภัณฑ์ในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการคุณสมบัติที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น แผ่นฟิล์มที่ทนความร้อน ที่กันอากาศ หรือที่ปิดผนึกได้ดี หรือบรรจุภัณฑ์ที่ทนแรงกระแทกได้สูง เป็นต้น นอกจากนี้ ยอดขายผลิตภัณฑ์ให้กับธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพและสุขอนามัย รวมถึง ภาคอุตสาหกรรม ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.1 ของยอดขายในปี 2562)
ผู้นำในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์: HMC ใช้เทคโนโลยีการผลิต PP ชั้นนำของโลกจาก LyondellBasell ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ นอกจากนี้ PP line 4 จะใช้เทคโนโลยีการผลิต PP ที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งจะเป็นเพียงหนึ่งในสองโรงงานในโลกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ที่จะสามารถใช้ C6 เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของ PP และเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งานใหม่ๆ HMC เป็นผู้นำในการผลิต PP ที่ใช้ในการผลิตท่อและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย และเป็นผู้ผลิต PP รายแรกของโลกที่ทำแผ่นฟิล์ม?ไดอีเลคตริค ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ จะขายภายใต้เครื่องหมายการค้าของ LyondellBasell ซึ่งเป็นยอมรับทั่วโลก
การผลิตวัตถุดิบบางส่วนและการใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย: HMC มีการผลิตโพรพิลีนจากโรงงาน PDH ของตัวเอง โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของโพรพิลีนที่ต้องการใช้ โดยวัตถุดิบที่เหลือจะมาจากสัญญาการจัดหาวัตถุดิบระยะยาวกับ PTTGC บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (HMC ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 14.3) และโรงกลั่นน้ำมันที่อยู่บริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการนำเข้าโพรพิลีนในบางช่วงเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ โดยโพรพิลีนที่นำเข้าจะเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 7 ของโพรพิลีนที่ต้องการใช้ เมื่อ PP line 4 แล้วเสร็จ ประมาณครึ่งหนึ่งของโพรพิลีนที่บริษัทใช้ ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุน โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง แม้ว่าสัดส่วนดังกล่าวจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 หลังจาก PP line 4 แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือของโพรพิลีนที่บริษัทใช้ ผลิตมาจากแนฟทา
สัญญาจัดหาวัตถุดิบช่วยลดความผันผวน: HMC มีสัญญาการจัดหาก๊าซโพรเพน (ซึ่งจัดหาได้จากภายในประเทศ) ระยะยาวกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ผู้หุ้นรายใหญ่ที่สุดของ PTTGC) ซึ่งราคาซื้อขายจะอ้างอิงกับราคา PP ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบได้ และยังเป็นเพิ่มการรวมการผลิตได้ในระดับหนึ่ง
อัตราส่วนหนี้สินเพิ่มขึ้น: ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สิน FFO Net Leverage ของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาอยู่ที่ระดับ 4.5-5.5 เท่าในปี 2563-2564 จาก 2.5 เท่าในปี 2562 เนื่องจากบริษัทอยู่ระหว่างการก่อสร้าง PP line 4 ที่มีกำลังการผลิตที่ 250,000 ตันต่อปี ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9.4 พันล้านบาท โดยใช้เงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปี 2563-2564 HMC มีการจัดหาเงินกู้จำนวนหนึ่งหมื่นล้านบาทเพื่อรองรับการลงทุนนี้ไว้แล้ว ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.2 เท่าในปี 2565 และ 2.5 เท่าในปี 2566 เมื่อ PP line 4 เริ่มผลิตเต็มที่ และฟิทช์คาดว่าบริษัทจะไม่มีแผนการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติม
ความผันผวนของธุรกิจและความหลากหลายที่จำกัด: อันดับเครดิตของบริษัทถูกลดทอนจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่จำกัด และความผันผวนตามวัฏจักรของธุรกิจ กำไรและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ จะถูกกระทบอย่างมากจากความผันผวนของราคาและส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ HMC มีผลิตภัณฑ์ PP เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าผู้ผลิตปิโตรเคมีรายอื่นในประเทศ และบริษัทมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว
ความเชื่อมโยงกับ PTTGC: ฟิทช์พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ กับ PTTGC อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งทำให้มีการปรับเพิ่มอันดับเครดิตขึ้นหนึ่งอันดับ HMC เป็นผู้รับซื้อโพรพิลีนรายใหญ่ของ PTTGC ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงในการผลิตในธุรกิจสายโพรพิลีน อีกทั้ง PTTGC ยังให้ HMC เป็นบริษัทหลักในธุรกิจ PP และมีข้อตกลงที่จะไม่แข่งขันกับ HMC ในธุรกิจนี้ ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ในเชิงกลยุทธ์ของทั้งสองบริษัท PTTGC และ LyondellBasell ส่งตัวแทนเป็นคณะกรรมการของ HMC ในสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่ง และมีการหมุนเวียนกันเป็นผู้บริหารระดับสูงของ HMC ฟิทช์คิดว่า PTTGC มีแนวโน้มที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ HMC มากกว่าสัดส่วนการถือหุ้นเมื่อต้องการ
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป
HMC มีสถานะทางธุรกิจอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับบริษัทในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขั้นปลาย และปิโตรเคมีในประเทศไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิต ในขณะที่สถานะทางการเงินที่ก็อยู่ในระดับปานกลาง
HMC มีขนาดธุรกิจที่เล็กกว่า และมีธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้นและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC (อันดับเครดิตที่ 'A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ; สถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ 'bbb(tha)’) อย่างไรก็ตาม HMC มีความเทคโนโลยีด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ก้าวหน้ากว่า IRPC และมีอัตราส่วนกำไรต่อรายได้ที่สูงกว่า IRPC แม้ว่าจะไม่พิจารณารวมธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน เนื่องจาก HMC มุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากนี้ HMC มีการใช้วัตถุดิบที่หลากหลายกว่า ทั้งจากก๊าซและแนฟทา ฟิทช์มองว่าบริษัททั้งสองมีสถานะทางธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน แต่ HMC มีสถานะทางการเงินที่ที่แข็งแกร่งกว่า ดังนั้น HMC จึงมีอันดับเครดิตโดยลำพังสูงกว่าอันดับเครดิตโดยลำพังของ IRPC อยู่หนึ่งอันดับ
ฟิทช์มองว่า HMC มีสถานะทางธุรกิจดีกว่าบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตโพลิเมอร์และพลาสติกซึ่งได้แก่ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ PTL ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ 'A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และ บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ 'A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ อยู่เล็กน้อย ฟิทช์เชื่อว่าการเป็นผู้นำในธุรกิจ PP ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยลดทอนการที่บริษัทมีการกระจายตัวทางธุรกิจตามภูมิภาคที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ PTL และความหลากหลายของธุรกิจของลูกค้าที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ EPG อย่างไรก็ตาม HMC มีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า ซึ่งทำให้อันดับเครดิตโดยลำพังของ HMC อยู่ต่ำกว่า PTL และ EPG
สมมติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ:
รายได้ลดลงประมาณร้อยละ 24 ในปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส และราคา PP ที่ลดลงจากราคาน้ำมันที่ลดลง, อุปสงค์และราคา PP ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งทำให้รายได้เพิ่มขึ้นEBITDA margin ลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ในปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่อ่อนแอส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 ทำให้ EBITDA margin เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 12-13 ในปี 2564-2565PP line 4 เริ่มผลิตในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เพิ่มกำลังการผลิตอีก 250,000 ตันต่อปีเงินลงทุน 8.1 พันล้านบาทในปี 2563-2565 สำหรับ PP line 4 รวมกับเงินลงทุน 600 ล้านบาท ถึง 1.4 พันล้านบาทต่อปี ในปี 2563-2565 สำหรับการซ่อมบำรุงและการปรับปรุงคุณภาพการผลิต
ปัจจัยที่อาจมีผลกับอันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยบวก:
แนวโน้มเครดิตอาจถูกปรับเป็นมีเสถียรภาพ หากอัตราส่วน FFO Net Leverage ลดลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่า 3.5 เท่าภายในปี 2565ระดับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท กับ PTTGC ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจัยลบ:
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ลดลง ความล่าช้าในการเริ่มการผลิตของ PP line 4 หรือการลงทุนที่เพิ่มขึ้นและการจ่ายปันผลที่สูงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ อัตราส่วน FFO Net Leverage ยังคงสูงกว่า 3.5 เท่าในปี 2565EBITDA margin ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 10 อย่างต่อเนื่องระดับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท กับ PTTGC ที่ลดน้อยลง
สภาพคล่อง
สภาพคล่องอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้: HMC มีหนี้สินอยู่ 6.9 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 ซึ่งประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้นจำนวน 1.5 พันล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีส่วนที่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนจำนวน 1.3 พันล้านบาท ฟิทช์มองว่าสภาพคล่องของบริษัทฯอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยบริษัทฯมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 1.3 พันล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนที่ไม่สามารถยกเลิกได้จากสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 3 พันล้านบาท HMC จะมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นลบในปี 2563-2564 เนื่องจากการลงทุนขนาดใหญ่ใน PP line 4 อย่างไรก็ตาม HMC มีการจัดหาเงินกู้จำนวนหนึ่งหมื่นล้านบาทเพื่อรองรับการลงทุนนี้ไว้แล้ว ซึ่งจะเริ่มเบิกกู้วงเงินดังกล่าวในปี 2563