Medicago ประกาศก้าวสำคัญ พัฒนาวัคซีนจากพืชตระกูลยาสูบ ต่อสู้กับไวรัสโคโรนา

ศุกร์ ๑๐ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๖:๑๐
เมดิคาโก (Medicago) บริษัทชีวเวชภัณฑ์ของประเทศแคนาดา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก

บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นเนล (PMI) เผยความก้าวหน้าสำคัญในการผลิตวัคซีนต้านไวรัส

COVID-19 โดยการใช้อนุภาคคล้ายไวรัส (virus-like

particle) หรือ VLP ซึ่งเพาะจาก

Nicotiana Benthamiana ซึ่งเป็นพืชตระกูลที่มีความใกล้เคียงกับยาสูบ

ในการพัฒนาวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้

การพัฒนาวัคซีนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาสร้างประโยชน์ต่อสังคม

โดยไม่จำกัดว่าองค์กรใดหรือบริษัทใดเป็นผู้ให้การสนับสนุน

ล่าสุด Medicago ได้ออกมาเผยว่ากำลังจะเริ่มขั้นตอน “ก่อนการทดสอบทางคลินิก”

เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนจะทำการทดลองในผู้ใช้จริง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในฤดูร้อนนี้

อนุภาคคล้ายไวรัสนั้นจะถูกนำไปพัฒนาวัคซีนที่ผลิตจากพืช

โดยเลียนแบบไวรัส

นำไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อให้จดจำและสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน

แต่อนุภาคดังกล่าวไม่มีสารพันธุกรรมหลักของไวรัส จึงไม่เกิดการติดเชื้อและไม่สามารถทำซ้ำได้

และเทคโนโลยีของ Medicago

นั้น สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อรุนแรงอย่างเช่น

COVID-19 ได้ภายในหนึ่งเดือนหลังจากได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

Medicago มีความเชี่ยวชาญในการสร้างนวัตกรรมวัคซีน นอกจากการรักษาไวรัสโคโรนา Medicago ยังดำเนินการทดลองในด้านไวรัสและการรักษาโรคระบาดอื่น ๆ โดยผลิตภัณฑ์แรก คือวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจสอบโดยองค์กรสุขภาพของประเทศแคนนาดา

(Health

Canada) อีกทั้ง ยังพัฒนาแอนติบอดี้ต่อต้าน โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

(SARS-CoV-2) โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัย Laval จากผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่าแอนติบอดี้อาจถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ข้อแตกต่างระหว่างการพัฒนาวัคซีนอนุภาคคล้ายไวรัสและวัคซีนแบบดั้งเดิม

การพัฒนาวัคซีนแบบดั้งเดิมในไข่ใช้เวลา

6 ถึง 9 เดือน ผู้ผลิตวัคซีนฉีดไวรัสเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดการแพร่กระจาย แต่การใช้ไข่นั้นมีราคาแพง

ใช้เวลานาน และไม่สมบูรณ์ การกลายพันธุ์ (Mutations) อาจทำให้วัคซีนตอบสนองไม่ตรงกับไวรัสเป้าหมายที่ตั้งใจจะทำลาย

วิธีการที่ใช้พืชเป็นเรื่องใหม่

แต่ก็มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา เกิดการแทรกในลำดับพันธุกรรมใน Agrobacterium แบคทีเรียที่มีดินเป็นองค์ประกอบซึ่งถูกนำขึ้นมาจากพืช

ในกรณีนี้ เป็นพืชตระกูลใกล้เคียงกับพืชยาสูบ พืชดังกล่าวเริ่มผลิตโปรตีนซึ่งสามารถใช้เป็นวัคซีนได้

หากไวรัสเริ่มที่จะกลายพันธุ์ อย่าง COVID-19 ก็สามารถใช้พืชใหม่ๆ ปรับปรุงการผลิตวัคซีนได้ การใช้พืชและแบคทีเรียจากพืช

(agrobacteria)

ที่ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นทำงานได้เร็วกว่าไข่และยังสามารถผลิตวัคซีนได้ง่ายกว่ามาก

เกี่ยวกับ เมดิคาโก

ฟิลลิป

มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ถือครองกรรมสิทธิ์บางส่วนใน Medicago

ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

และนวัตกรรมของบริษัทฯ โดยได้เข้าถือหุ้น Medicago ในปี 2556 และปัจจุบันถือหุ้นประมาณหนึ่งในสามของบริษัท โดยบริษัทมิตซูบิชิทานาเบะจากประเทศญี่ปุ่นถือครองหุ้นสัดส่วน

2 ใน 3 ที่เหลือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม