นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 ด้วยกลยุทธ์ Asset Light and Digital Expansion วันนี้ธนาคารกสิกรไทยได้รับข่าวดีจากการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ซึ่งธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของเมียนมา
การร่วมลงทุนในธนาคารกับเอแบงค์ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ใช้เงินลงทุนที่น้อยและมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปดำเนินธุรกิจในรูปแบบสาขาต่างประเทศและธนาคารท้องถิ่น โดยการเข้าไปร่วมลงทุนในเอแบงค์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันที และจะเป็นการต่อยอดศักยภาพของเอแบงก์ที่เป็นธนาคารท้องถิ่นรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็ว มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมมาให้บริการ มีความเข้าใจในทุกกลุ่มลูกค้าชาวเมียนมา กับจุดแข็งของธนาคารกสิกรไทย ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำการให้บริการกลุ่มลูกค้าบุคคล กลุ่มเอสเอ็มอี การให้บริการดิจิทัลแบงกิ้งรวมถึงกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ มีบริการทางการเงินที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งนักลงทุนต่างชาติ (FDI) บรรษัทขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคลในประเทศเมียนมา ผ่านช่องทางสาขา 18 สาขา ครอบคลุมทุกเมืองหลักอาทิเช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เมียวดี เมาะลำไย(อิระวดี) รวมทั้งมีแผนกลยุทธ์ขยายธุรกิจดิจิทัลแบงกิ้งที่สามารถให้บริการทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันของธนาคารและกลุ่มลูกค้าอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ โดยยึดมั่นในปรัชญา Beyond Banking ที่อยู่เคียงข้างลูกค้าช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคคลและธุรกิจแบบยั่งยืน
ทั้งนี้ เอแบงก์ ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 314 พันล้านจ๊าด หรือ 6.4 พันล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2557 เป็นธนาคารที่มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าบุคคลและธุรกิจเมียนมาในเชิงลึก มีวิสัยทัศน์และแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับธนาคารกสิกรไทย ในการผนึกกำลังเพื่อส่งมอบบริการที่ยั่งยืนให้แก่ชาวเมียนมา ด้วยบริการทางการเงินที่มีความหลากหลายในประเทศเมียนมา โดยมีเป้าหมายสำคัญ ดังนี้
การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไทยและเมียนมาผ่านการเป็นพันธมิตรและเครือข่ายของธนาคารกสิกรไทย
เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจระหว่างประเทศและธนาคารเมียนมาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าท้องถิ่นในเมียนมา
เพื่อสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น (Financial Inclusion)
ผ่านการพัฒนาโครงการซัพพลายเชนไฟแนนซ์
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจท้องถิ่น
อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศการขยายธุรกิจธนาคารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งในส่วนของการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น เพื่อครอบคลุมลูกค้าส่วนบุคคลทั่วประเทศ
ซึ่งยังมีสัดส่วนในการเข้าถึงธนาคารค่อนข้างต่ำ รวมถึงธุรกิจรับชำระเงิน
เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ
ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศการมุ่งเน้นสร้างช่องทางของธนาคาร
เพื่อให้ลูกค้าส่วนบุคคลสามารถเข้าถึงและทำธุรกรรมได้ ผ่านช่องทางธนาคารตัวแทน (Agent Banking) และการขยายจำนวนเครื่อง ATM
นายภัทรพงศ์ กล่าวสรุปตอนท้ายว่า รูปแบบของการร่วมลงทุนในครั้งนี้จะเป็นเพิ่มทุนให้กับเอแบงค์ ซึ่งจะส่งผลให้เอแบงค์มีฐานของเงินทุนในการดำเนินธุรกิจที่เข้มแข็งขึ้น โดยการลงทุนครั้งนี้จะดำเนินการผ่าน บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด ซึ่งธนาคารกสิกรไทยถือครองหุ้น 100% เป็นบริษัทลงทุน (Investment Holding Company) นอกประเทศไทย มีงบลงทุน ประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในต่างประเทศ ให้กับธนาคารกสิกรไทย นอกจากนี้การมีโอกาสเข้าร่วมถือหุ้นในเอแบงก์ จะช่วยเพิ่มสร้างความหลากหลายในการให้บริการการเงิน เสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเมียนมา เพื่อต่อยอดธุรกิจของธนาคารฯ ในเมียนมาที่จะเชื่อมเครือข่ายธุรกิจและระบบชำระเงิน ตามยุทธศาสตร์การทำธุรกิจในอนาคตของธนาคารกสิกรไทย ที่จะมุ่งเน้นขยายเครือข่ายการให้บริการแก่ลูกค้าท้องถิ่น นักธุรกิจไทยและต่างชาติที่ขยายธุรกิจไปในประเทศ AEC+3 (เออีซี จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)
ข้อมูลเกี่ยวกับ Ayeyarwaddy Farmers Development Bank หรือ A bank
ก่อตั้ง วันที่ 22 ธันวาคม 2557
ทรัพย์สินมูลค่า 314 พันล้านจ๊าด หรือ 6.4 พันล้านบาท
ทุนจดทะเบียน(ปัจจุบัน) 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท
ลูกค้า 11,000 ราย
จำนวนสินเชื่อรวม 218 พันล้านจ๊าด หรือ 4.4 พันล้านบาท
จำนวนเงินฝาก 260 พันล้านจ๊าด หรือ 5.3 พันล้านบาท
เครือข่ายสาขา 18 แห่ง, 6 Myanmar Post office
จำนวนพนักงาน 550 คน