52 มหาวิทยาลัย ขานรับนโยบาย อว. พิจารณาลด-ผ่อนผันจ่ายค่าเทอมจากผลกระทบโควิด-19

จันทร์ ๑๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๗:๑๘
52 มหาวิทยาลัย ขานรับนโยบายพิจารณาลดค่าเทอม-ผ่อนผันชำระค่าเทอม-ออกมาตรการช่วยเหลือให้กับนิสิต

นักศึกษา เยียวยาผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 หลังออกประกาศเรียนหนังสือออนไลน์ ทปอ.เรียกประชุมมหาวิทยาลัย สแกนหาคณะที่ลดค่าเทอม

พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือที่ดีที่สุด ด้านราชภัฎ พิจารณาลดค่าเทอม –

ช่วยค่าเน็ต ขณะที่ราชมงคล ยืนยันลดค่าเทอมให้ 10-15%

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ขยายวงกว้างขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม กระทรวง อว. เล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคลากร นิสิต นักศึกษา ประชาชน และผู้ประกอบการในสถานศึกษา กระทรวง อว. จึงได้ออกประกาศกระทรวง ฯ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมาโดยขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว. ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครองและนิสิตนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจในช่วงนี้ โดยเฉพาะการพิจารณาลดค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษาต่างๆ ที่เรียกเก็บจากนักศึกษาในภาคการศึกษาที่จะถึงนี้เป็นกรณีพิเศษ พร้อมออกมาตรการต่างๆในการช่วยเหลือนักศึกษา

ล่าสุดมี 52 มหาวิทยาลัยขานรับนโยบายในการพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 เช่น ลดค่าลงทะเบียนเรียน ขยายระยะเวลาการชำระค่าเทอม ลดหรือคืนค่าธรรมเนียมบริการต่างๆ รวมถึงจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือนักศึกษา เป็นต้น ประกอบด้วย 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยมหิดล 5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7. มหาวิทยาลัยศิลปากร 8. มหาวิทยาลัยบูรพา 9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 10 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 13. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 15 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 16. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 17. มหาวิทยาลัยนเรศวร 18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 19.มหาวิทยาลัยพะเยา 20. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 21. มหาวิทยาลัยทักษิณ 22.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 24. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 25. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 26. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 27. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 28. มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย 29. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 30. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 31. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 33. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 34. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 35. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 36. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 37. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 38. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 39. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 40. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 41. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 42. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ 43. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 44. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 45. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 46. มหาวิทยาลัยพายัพ 47. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 48.วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 49.วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 50.มหาวิทยาลัยศรีปทุม 51.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 52.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยได้มีมาตรการและการพิจารณาสัดส่วนมาตรการในการช่วยเหลือแตกต่างกันไป อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จฯ ลดค่าเทอม 20% มหาวิทยาลัยศรีปทุมลด 25% สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับทุน และลด15% สำหรับผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาไม่เกิน 50% (ทุกวิทยาเขต) มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ คืนค่าบำรุงการศึกษา ภาคเรียนที่ 3/2562 ปริญญาตรีลดค่าบำรุงการศึกษาและค่าบำรุงคอมพิวเตอร์ 30% ปริญญาโท-เอก ลดค่าบำรุงการศึกษา 2,000 บาท พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่อนผันค่าเทอม และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตลดค่าเทอมภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2562 ไม่น้อยกว่า 25% และสามารถขอผ่อนชำระค่าเทอมได้ ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายเวลาผ่อนผันการชำระค่าเทอมจนถึงสิ้นปีการศึกษา 2562 หรือ 9 สิงหาคม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสามารถผ่อนผันชำระค่าเทอม หรือชำระค่าเทอมล่าช้าได้ถึงวันที่ 25 เมษายน และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงสามารถแสดงหลักฐานขอเลื่อนชำระค่าเทอมภาคปลายปีการศึกษา 2562

“ผมทราบว่ามีหลายๆมหาวิทยาลัยได้พยายามปรับตัวและมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปในหลายๆด้าน ขณะที่การลดค่าเทอมจำเป็นต้องมีการประชุมหารือกันในที่ประชุมอธิการบดีส่วนต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าจะมีแนวทางในการลดค่าเทอมออกมาในเร็วๆ วันนี้” รมว.อว. กล่าว

ด้านศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ทปอ.พร้อมให้การสนับสนุนนโยบายของกระทรวง อว. อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะด้วยมหาวิทยาลัยในสังกัด ทปอ. 34 แห่ง ที่มีศักยภาพในการรองรับแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการพูดคุยเพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน แต่เป้าหมายคือการช่วยเหลือนิสิต นักศึกษาที่เป็นเหมือนคนในครอบครัว เป็นคนที่เราต้องช่วยเหลือ แต่จะช่วยเหลือในรูปแบบใด เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้ประโยชน์ และมหาวิทยาลัยอยู่ได้ ต้องมองทุกอย่างอย่างรอบคอบ

“ที่ลาดกระบังการศึกษาเรื่องการลดค่าเทอมมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว โดยต้องเจาะรายละเอียดทุกหลักสูตร ว่าหลักสูตรใดลดค่าเทอมได้ หรือหลักสูตรใดไม่สามารถลดค่าเทอม ซึ่งขณะนี้ที่ประชุม ทปอ. กำลังดำเนินการอยู่เพื่อให้ได้แนวทางความช่วยเหลือที่เหมาะสมที่สุดออกมา”

ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิบการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (ทปอ.มรภ.) กล่าวว่า สถาบันการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎเกือบทั้งประเทศมีการเปิดภาคการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม คือ เปิดเทอมในเดือนมิถุนายน ทำให้ช่วงนี้อยู่ในช่วงปิดเทอม มีเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฎ 2 กลุ่ม คือ เขตกรุงเทพฯ และเขตภาคตะวันตก เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และจอมบึง ที่ยังอยู่ในช่วงเวลาเรียนตามภาคเรียนปกติ โดยแนวทางการดำเนินตามนโยบายของ กระทรวง อว.นี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของแต่ละมหาวิทยาลัยนำไปพิจารณาให้ความช่วยเหลือนักศึกษาของตน

“แต่ละมหาวิทยาลัยมีแนวทางที่จะช่วยนักศึกษาอยู่แล้ว เพราะนี่คือลูกหลานของเรา แต่จะช่วยมากน้อยก็ต้องดูตัวเราเองเหมือนกัน อย่างไรก็ตามพื้นฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฎมีการเก็บค่าเรียนที่ถูกอยู่แล้ว ทำให้มีความช่วยเหลือที่ต่างกัน บางสถาบันอาจลดค่าเทอม หรือสถาบันอาจรับผิดชอบค่าอินเทอร์เน็ตให้ เป็นต้น”

ผศ.ดร. วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)อีสาน

ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยราชมงคล (ทปอ.มทร.)

จากแนวนโยบายการให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาลดค่าธรรมเนียมต่างๆ

ที่เรียกเก็บจากนักศึกษาใน ภาคการศึกษาที่จะถึงนี้ เป็นกรณีพิเศษ ของทางกระทรวง

อว. นั้น ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้มอบหมายให้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจัดทำมาตรการเบื้องต้นไว้แล้ว เช่น ค่าเทอม

จะมีการลดลงไปราว 10-15% และมีมาตรการอื่นที่จะช่วยนักศึกษา เช่น ให้เด็กทำงานพิเศษเพื่อมีรายได้

“ในที่ประชุมอธิการบดี มทร. เบื้องต้นเรามีหลักการคล้ายกันคือ ลดก็ต้องลด แต่จะมากจะน้อยแล้วแต่แต่ละมหาวิทยาลัย ต้องมีมาตรการออกไปช่วยเด็ก ซึ่งในเบื้องต้นเรามีมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาแน่นอน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ