กระเทียม สมุนไพรคู่ครัวไทย ในยุคโรคระบาด

อังคาร ๑๔ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๖:๑๘
ในยามที่สถานการณ์โรคระบาดกำลังตึงเครียดขึ้นทุกที ประเทศไทยก็ยังมีความโชคดีที่เป็นแหล่งความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหารการกินรวมถึงสมุนไพรนานาชนิด เรียกว่าอาหารเป็นยา มีให้เลือกกินมากมาย โดยเฉพาะเวลานี้ทางใดที่จะป้องกันหรือเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงก็อาจจะต้องนึกถึงสมุนไพรคู่ครัวไทยอย่าง “กระเทียม” ที่หาง่าย ราคาถูก แต่ให้สรรพคุณเกินตัว

น.ส.นภนวลพรรณ สุวรรณวัฒน์ แพทย์แผนไทย จากร้านสมุนไพรสบายใจ กล่าวว่า “กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้เป็นอาหารและยาพื้นบ้านของไทยมานาน มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน นิยมใช้เป็นส่วนประกอบอาหารไทยหลายชนิด โดยแพทย์แผนไทยใช้กระเทียมรักษาโรคกลาก เกลื้อน แก้ไอ ลดอาการจุกเสียด” ทั้งนี้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็มีการค้นพบคุณประโยชน์ของกระเทียมไว้มากมาย เช่น มีส่วนช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด ป้องกันการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้านไวรัสบรรเทาอาการหวัด เรียกว่าอร่อยและยังมีคุณประโยชน์หลายด้าน

ภูมิต้านทานโรค นับเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ภูมิต้านทานเป็นเสมือนเกราะคุ้มกันที่ต้องเสริมกำลังให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ ซึ่งในกระเทียมมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง คือ “อัลลิซิน” มีคุณสมบัติเด่นในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophaqes ซึ่งเป็นตัวกำจัดสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อโรคร้ายต่างๆ มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อรา จึงลดความรุนแรงของอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ อีกทั้งยังมีสาร S – allycystein (SAC) ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรมองข้ามสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเทียม ที่ควรหามารับประทานเป็นประจำทุกวัน

การรับประทานกระเทียม ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสม ข้อเสียอาจทำให้มีกลิ่นปาก แสบร้อนในปากหรือกระเพาะ ปัจจุบันจึงมีการพัฒนากระเทียมในรูปแบบสารสกัดบรรจุเป็นแคปซูล เพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นไม่พึงประสงค์ และกระบวนการละลายของเม็ดแคปซูลที่ย่อยสลายช่วงลำไส้เล็กเหมาะแก่การดูดซึม และไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันคือวันละ 300 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 1-2 แคปซูล วันละ 1-2 เวลา

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกระเทียม หรือจากสมุนไพร ควรเลือกที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา ปริมาณของสารสำคัญ ปริมาณบริโภคต่อวัน ตลอดจนจำหน่ายในร้านค้าที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ หรือมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ เพื่อการรับประทานที่ปลอภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ