การปรับการจ่ายปันผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารสภาพคล่อง
โดย VRANDA
ยังมีมาตรการระงับแผนการลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัททั้งหมดไว้ชั่วคราว
และจะมีการดำเนินการต่อเมื่อเพื่อให้เป็นไปตามภาระผูกพันที่ได้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้นนอกจากนั้นยังลดค่าใช้จ่ายในการบริหารประมาณ
150 ล้านบาท ในปี 2563
รวมถึงการปรับลดเงินเดือนผู้บริหาร และค่าตอบแทนกรรมการ
ด้านการดำเนินกิจการ VRANDA สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ
จากนโยบายลงทุนที่ในธุรกิจที่มีความถนัดเพื่อกระจายความเสี่ยง
มาช่วยหนุนผลประกอบการในสถานการณ์ครั้งนี้ โดยธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ในไตรมาส 1 ปี 2563 VRANDA รับรู้รายได้จากการโอนโครงการ
รวมประมาณร่วม 240 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากโครงการ “Veranda
Residence Hua-Hin” ซึ่งเริ่มโอนและรับรู้รายได้ในเดือนมีนาคม ปี 63 โดยยอดโอนฯ ของโครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
คาดว่าในปี 63 ยอดโอนฯ และรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นยอดที่ขายได้แล้ว (backlog) เมื่อสถาณการณ์ฟื้นตัว McKinsey Report คาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศจะเป็นตัวช่วยหลักในการฟื้นตัวกลับมาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ทำให้ VRANDA จะได้รับผลดีและสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วเนื่องจาก
VRANDA มีสัดส่วนลูกค้าชาวไทยมากถึง 30% ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มโรงแรมในตลาดหลักทรัพย์