ผู้ที่ต้องการกักตัวสามารถใช้แอพฯ CoCare ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การใช้งานของแอพฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ คู่มือการกักตัวสำหรับคนทั่วไป ประกอบด้วยคำแนะนำที่จำเป็นในการกักตัวอย่างถูกวิธี ขอคำแนะนำเมื่อมีอาการ รวมถึงการบันทึกอาการ และเฝ้าดูอาการจากบุคลากรทางการแพทย์ และ บันทึกข้อมูลอาการและการเฝ้าระวังโดยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้กักตัวสามารถใช้แอพฯ บันทึกอาการเองได้จากที่บ้าน โดยมีทีมบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าระวังอาการจากบันทึกนี้ และให้คำแนะนำที่เหมาะสม ผ่านการส่งข้อความ โทรคุย และวิดีโอคอลล์กับเจ้าหน้าที่ โดยที่ทีมคัดกรองและแพทย์สามารถติดต่อกลับได้เมื่อจำเป็น โดยมีอาสาสมัคร 3 กลุ่มดูแล กลุ่มที่ 1 คือ เภสัชกร นักสาธารณสุข กลุ่มที่ 2 คือ พยาบาล และกลุ่มที่ 3 คือ แพทย์ โดยหนึ่งทีมประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล และนักสาธารณสุข
“จากการคำนวน ทรัพยากรทางการแพทย์ (Medical Resources Modelling Predictions) ที่ต้องใช้เมื่อเกิดการระบาดใหญ่ เราคาดว่าเมื่อเกิดการระบาดเป็นจำนวนมากในวงกว้าง เตียง อุปกรณ์ช่วยชีวิต อีกทั้งบุคคลาการทางการแพทย์ จะมีไม่เพียงพออย่างมาก หากปล่อยไว้ จะมีผู้เสียชีวิตจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก” นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ กล่าว “ผมและทีมอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ด้าน Healthcare IT มานาน และจากหลายสาขาอาชีพ จึงรวมตัวกันเพื่อทำในสิ่งที่ประชาชนคนหนึ่งจะสามารถทำได้ในสถานการณ์ที่สับสนเปลี่ยนแปลงทุกวัน ทีมอาสาสมัครเห็นว่าสิ่งที่ทำได้เร็วที่สุดในเวลานั้นคือการลดจำนวนคนไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ทางเราจึงพัฒนาแอพฯ CoCare เพื่อสร้างความเข้าใจและการดูแลให้คำแนะนำผู้ที่ต้องการกักตัว 14 วันอย่างถูกวิธี ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สามารถบันทึกอาการเองได้ง่าย ๆ บนแอพฯ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ผ่านการดูแลจากอาสาสมัครทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่รองรับอยู่แล้ว”
ในกรณีที่ไปโรงพยาบาลมาก่อนแล้ว ต้องกลับมากักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลที่เข้าร่วมกับ Thai CoCare จะจัดทีมดูแลจากโรงพยาบาลนั้น ๆ มาดูแลผู้กักตัวโดยผ่านแอพฯ CoCare
ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลที่ต้องการลดจำนวนผู้กักตัวที่โรงพยาบาล สามารถเข้าร่วมโดยจัดทีมดูแลผ่านแอพฯ CoCare ซึ่งเปิดให้ใช้ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ผู้ที่ต้องการกักตัวสามารถดาวโหลดแอพลิเคชั่น CoCare ฟรี ได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยในขณะนี้เรามีทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมให้การดูแลผู้ที่ต้องกักตัว 14 วันแล้วกว่า 200 คน มีโรงพยาบาลที่ใช้แอพฯ CoCare เป็นจำนวน 35 โรง และคาดว่าจะมีมากขึ้นหลังจากเริ่มใช้งาน
เข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaicocare.com และ www.facebook.com/ThaiCoCare และสามารถดาวน์โหลด CoCare ได้ที่เพลย์สโตร์ และกูเกิ้ลเพลย์
เกี่ยวกับ Thai CoCare
นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ก่อตั้งงานอาสาสมัคร และเชิญชวนทีมอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ด้าน Healthcare IT มาช่วยกันดูแลผู้ที่กักตัวอย่างเป็นระบบ และพัฒนาแอพพลิเคชั่น “CoCare” ที่สามารถเอื้อให้การดูแลผู้กักตัวระยะไกลทำได้อย่างง่ายและเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังชักชวนทีมอาสาสมัครในวิชาชีพอื่นๆเช่น วิศวกร พัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ออกแบบการทำงานสำหรับโรงพยาบาลในรายละเอียดเพื่อความปลอดภัยลดการกระจายของเชื้อ และมีประสิทธิภาพให้กิจการบริการคนไข้ที่ปลอดภัยกับทีมแพทย์พยาบาล จนถึงการออกแบบงานระบบ เช่น ระบบระบายอากาศ จนถึงสุขาภิบาล คลินิคโรคทางเดินหายใจ หอผู้ป่วยและโรงพยาบาลสนาม ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องความดันลบ ที่สร้างได้ในเวลา 2-4 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับอดีตที่ใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูงครับ สามารถหาความข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ThaiCoCare และ www.facebook.com/DoDoneNotDoDie