สำหรับนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะมีความรู้เรื่องการลงทุน รู้จักวิเคราะห์ คาดการผลกำไรในอนาคตให้ได้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต้องมีความรู้ประกอบควบคู่กันไปด้วย นั่นก็คือเรื่องของ “กฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งนักลงทุนทุกคนจะต้องศึกษาและรับทราบไว้ ไม่ว่าจะเป็น นิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน ค่าธรรมเนียมและภาษี ตลอดจนการปล่อยเช่าที่เพิ่งมีการแก้กฎหมายใหม่ไป
กฎหมายอสังหาฯ ที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกทางด้านกฎหมายที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ เพราะเมื่อเกิดการซื้อขาย เปลี่ยนมืออสังหาริมทรัพย์ จะมีทั้งเรื่องการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด การจดทะเบียน เอกสารสิทธิ์ การโอน โดยในเรื่องของนิติกรรม สิ่งที่นักลงทุนควรรู้ คือ
1.การทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด
2.กฎหมายอสังหาฯ ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
3.กฎหมายอสังหาฯ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่า
จากที่กล่าวมาทั้ง 3 ข้อหลัก ถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาฯ พื้นฐานที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนหน้าเก่าจำเป็นจะต้องรู้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือกระบวนการ ซื้อ ขาย เช่า ที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถป้องกันกลโกงที่จะเกิดขึ้นได้หลังการขายด้วย สามาถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.trebs.ac.th/th/news_detail.php?nid=145
หรือสามารถศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอสังหาฯ กับ หลักสูตร รวมข้อกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ (RE100) ซึ่งจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินฉบับใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกแขนงในวงการอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สถาบันการเงิน หน่วยงานราชการ และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำเป็นต้องมีความรู้อย่างครบถ้วนในเรื่องข้อ กำหนดและกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้อง กับที่ดินและมีผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าทรัพย์สิน (อาคาร-ที่ดิน) เพราะข้อ จำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดจากข้อ กำหนดกฎหมายต่าง ๆ เช่น พรบ.ผังเมือง ในพื้นที่ต่างๆที่มีกฎ ข้อ กำหนด การใช้ที่ดิน ตามสีผังเมือง ฯลฯ เป็นเหตุให้ 15 ถนนสายหลักในกรุงเทพต้องมี ระยะร่นที่ดินแปลงด้านหน้าที่ติดถนน ใหญ่สามารถมีราคาถูกกว่าที่ดินแปลงด้านหลัง ที่ดินแปลงหัวมุมที่ติดทั้ง ถนนใหญ่และถนนซอย กลับมีข้อห้ามด้าน ความสูงมากขึ้น ! และนับเป็นหลักสูตรที่รวม ปรมจารย์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายโดยตรง เข้มข้น ด้วยทฤษฏี แหล่งการค้นหาข้อมูล พร้อมด้วยตัวอย่าง ที่คาดไม่ถึงในหลายกรณีซึ่งท่านสามารถใช้เป็น กรณีศึกษาเป็นอย่างดี
โดยมีหัวข้ออบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติดังนี้
1.สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์กับมาตรการกฎหมายในปัจจุบัน
2.ผังเมืองและกฎระเบียบเกี่ยวกับการก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์:
3.ความรู้เกี่ยวกับการวางผังเมือง ข้อกำหนดการใช้ที่ดิน / ระยะร่น และข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน /
4.พรบ.ควบคุมอาคาร (กฎกระทรวงฉบับที่ 55) / ข้อบัญญัติ กทม. พ.ศ.2544
5.กรณีศึกษา:มูลค่าทรัพย์สินกับข้อกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ ทั้งอสังหาริมทรัพย์โครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรมเพื่อการพักผ่อน อุตสาหกรรม และที่ดินเปล่า
6.การเวนคืนและการประเมินราคาทุนทรัพย์: กฎหมายเวนคืน อุทธรณ์ค่าทดแทนของหน่วยงานราชการต่าง / การประเมินราคาทุนทรัพย์ที่ดิน อาคาร อาคารชุด
7.กฎหมายสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์: รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
8.กฎหมายที่ดินและเอกสารสิทธิ์: ประมวลกฎหมายที่ดิน (สิทธิ์ หนังสือแสดงสิทธิ์) / ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
9.(กรรมสิทธิ์ ภาระจำยอม ภาระติดพัน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บเงิน)
10.การทำนิติกรรม: นิติกรรม จำนอง ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม/ การติดต่อสำนักงานที่ดิน (ขั้นตอนขออนุญาตภาคปฏิบัติ)
11.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน: พรบ.จัดสรรที่ดิน/พรบ.อาคารชุดและขั้นตอนการขออนุญาตจดทะเบียน /
12.แนวทางการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร-อาคารชุด
13.กฎหมายการบริหารทรัพย์สิน: สาระสำคัญของกฎหมายอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร / กฎหมายอาคารชุด / กฎหมายบ้านจัดสรร
14.กฎหมายที่ดินของหน่วยงานพิเศษ: กรมธนารักษ์ / สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ / ธรณีสงฆ์ / ทางหลวง
15.ประสบการณ์และข้อคิดของนักพัฒนาที่ดินต่อกฎหมายอสังหาริมทรัพย์:
16.อุปสรรคเกิดจากข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในมุมมองของผู้ประกอบการ โดยเน้นประสบการณ์และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพัฒนาที่ดิน การก่อสร้าง สาธารณูปโภค รวมถึง พรบ.จัดสรรที่ดิน ขั้นตอนการขออนุญาต
17.การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่: ระเบียบ ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการจัดรูปที่ดิน การแบ่งแปลงการจัดรูปในการพัฒนาโครงการ
18.การเชื่อมที่ดินกับภาคเอกชน มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เห็นด้วย ที่จะทำให้ไม่สามารถทำ Project ได้ ในการตัดถนนหรือมีการเวนคืนที่ดิน
19.มีวิธีการอพยพคนอย่างไร ต้องใช้งบประมาณต้นทุน ค่าใช้จ่ายเท่าใด ใครเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
20.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค: การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา-ด้านสัญญา พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ประกาศคณะกรรมการว่าด้วย สัญญาเรื่อง กำหนดให้ ธุรกิจขายห้องชุด เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 พรบ.การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
21.การโฆษณาและการคุ้มครองผู้บริโภคที่นักพัฒนาที่ดินควรรู้ สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
22.การควบคุมอาคารของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง: ความรู้เกี่ยวกับอาคารและการควบคุม (ขออนุญาตตรวจ และควบคุม การใช้) /
23.การขออนุญาตก่อสร้างอาคารใน โครงการจัดสรร (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว) / การขออนุญาตก่อสร้างอาคารชุด ศูนย์การค้า อาคาร โกดัง โรงงาน การดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ประเภทต่างๆ / อาคารสร้างค้างกับการขอต่อใบอนุญาตก่อสร้างและการเปลี่ยนการใช้อาคาร
24.ข้อกำหนด-ข้อห้ามในการก่อสร้างอาคารตามกฎหมายอื่นของหน่วยงานต่างๆในกรุงเทพฯและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง: กองทัพบก / กองทัพเรือ / กองทัพอากาศ / กองทะเบียน กรมตำรวจ / การสื่อสารแห่งประเทศไทย / กรมการบินพาณิชย์ / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย / การทางพิเศษแห่งประเทศไทย / กรมเจ้าท่า / กรมทางหลวง / กฎหมายโบราณสถาน
25.อภิปราย หัวข้อการปรับใช้ความรู้ด้านกฎหมายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: การนำเสนอกรณีศึกษาปัญหา / อุปสรรคจากการใช้กฎหมายควบคุมอาคาร/การบริหารทรัพย์สิน/การพัฒนาที่ดิน
ภาคทฤษฎี
1.กฎหมายควบคุมการใช้ที่ดิน / อาคาร
2.กฎหมายที่ดินและเอกสารสิทธิ์
3.ความรู้ทั่วไปและสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์
4.การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา
5.กฎหมายสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
6.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
7.กฎหมายการบริหารทรัพย์สิน
8.การควบคุมอาคารของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
9.กฎหมายที่ดินของหน่วยงานพิเศษ
10.การทำนิติกรรมและการค้าที่ดิน
11.ข้อกำหนด / ข้อห้ามในการก่อสร้างอาคารตามกฎหมายอื่นของหน่วยงานต่างๆ
12.ประสบการณ์และข้อคิดของนักพัฒนาที่ดินต่อ กฎหมาย อสังหาริมทรัพย์
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ /www.trebs.ac.th/th/19/RE100 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line ID @trebs (อย่าลืมใส่ @ ด้านหน้าด้วยนะคะ) หรือโทรฯ 02-295-2294