SEVEN-ELEVEN JAPAN ปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้าด้วยระบบการจัดการแบบเรียลไทม์ให้กับร้านค้ากว่า 20,000 ร้าน

อังคาร ๒๘ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๕:๓๔
ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกอย่างเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงระบบการจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าการส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านค้าแฟรนไชส์จะปลอดภัยและตรงต่อเวลา ด้วยการจัดการข้อมูลการดำเนินงานแบบเรียลไทม์จะช่วยสร้างความมั่นใจในการกระจายสินค้าอย่างปลอดภัยและแน่นอน นอกจากนี้ยังทำให้ได้รับประโยชน์อื่นๆ มากมาย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง ลดรอยเท้านิเวศน์ (Ecological Footprint) ช่วยให้การดำเนินงานคล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองในยามวิกฤติ

ภายใต้สโลแกน 'ใกล้และสะดวก’ ผังของร้านค้าจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และต้องมีการเปลี่ยนแปลงการกระจายสินค้า ซึ่งหมายความว่าระบบต้องเปลี่ยนตามไปด้วย เราคาดหวังว่าฟูจิตสึจะปรับระบบให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเราพร้อมที่จะรับทุกคำแนะนำในการสร้างโซลูชันที่ทำงานดีที่สุด

Hiroyuki Harajima ผู้จัดการทั่วไป บจก. เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น

การกระจายสินค้าที่ปลอดภัยและตรงต่อเวลาไปยังกว่า 20,000 ร้านค้าทั่วประเทศ ในเดือนมกราคม 2018 เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ได้กลายเป็นผู้ค้าปลีกรายแรกในประเทศญี่ปุ่นที่มีร้านค้าปลีกในเครือข่ายกว่า 20,000 ร้าน วัตถุประสงค์หลักของเซเว่น-อีเลฟเว่น คือเพื่อให้บริการสินค้าและปรับปรุงการบริการเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นร้านค้าที่ “ใกล้และสะดวก” และขาดไม่ได้ของชุมชน

เพื่อรักษารสชาติและคุณภาพของสินค้าแต่ละชนิด บริษัทจึงมีศูนย์กระจายสินค้าสำหรับอาหารสี่หมวดที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เช่น แช่เย็น อุ่น แช่แข็งและอุณหภูมิห้อง และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับร้านค้าตั้งที่อยู่เป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะอยู่ภายใต้ศูนย์กระจายสินค้าเดียวกันเพื่อกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ในกลุ่ม ศูนย์กระจายสินค้าแบบนี้เป็นพันธมิตรคู่ค้า มีทั้งหมด 156 แห่งในญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2018) มีรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง 5,900 คัน และมีพนักงานขับรถที่คอยส่งสินค้าไปยังแต่ละร้านค้าทุกวันประมาณ 13,000 คน

Hiroyuki Harajima ผู้จัดการทั่วไปเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น เน้นย้ำว่า “ภารกิจของเราคือการส่งมอบสินค้าที่ปลอดภัยและขนส่งอย่างปลอดภัยไปยังร้านค้าแฟรนไชส์ของเรา” เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น จึงเริ่มใช้อุปกรณ์และระบบการจัดการจากภายในรถยนต์นับตั้งแต่เริ่ม

Harajima อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบในการจัดการดังนี้ “บริษัทของเราพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามข้อผูกพันด้านการค้าของเรา พนักงานของเราหนึ่งคนอาจดูแลจัดการได้ถึง 2,000 ร้านค้า ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถส่วนตัวของพนักงานด้วย แต่การทำงานในลักษณะนี้อาจไม่ใช่สำหรับ 20,000 ร้านค้า เพื่อให้บริการในระดับเดียวกันในหมู่ร้านค้าแฟรนไชส์ทั้งหมด เราต้องใช้กลไกที่เหมาะสม นี่คือเหตุผลที่เราใช้ระบบเพื่อบริหารงานโลจิสติกส์และเพื่อให้มีการซัพพลายและกระจายสินค้าที่ลงตัว”

การนำระบบการจัดการของฟูจิตสึมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ Harajima ให้เหตุผลสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ “ประการแรก เราต้องจัดการกับอุณหภูมิและการสั่นสะเทือน พูดง่ายๆ คือ เราต้องลดความเสียหายของสต็อกสินค้า และประการที่สองเพื่อติดตั้งระบบงานด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ หากสินค้าใดที่ต้องขนส่งไปยังร้านค้าหลายแห่ง เท่ากับเพิ่มโอกาสของความเสียหายและมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เป็นเรื่องง่าย”

ระบบการจัดการของฟูจิตสึให้ความมั่นใจถึงโลจิสติกส์ในระดับคุณภาพซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น เริ่มติดตั้งระบบงานเป็นครั้งแรก ในปี 2006 ต่อมาเมื่อบริษัทดำเนินการปรับปรุงระบบในปี 2012 โซลูชันใหม่ที่นำเสนอโดยฟูจิตสึก็ถูกนำไปใช้ที่ศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นพันธมิตรคู่ค้าแต่ละแห่ง ระบบใหม่นี้ใช้ DTS-D1D ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายในยานพาหนะ พร้อมตัวบันทึกขับขี่ประสิทธิภาพสูง รองรับการทำงานแบบเรียลไทม์ ระบบยังใช้เครือข่ายบนระบบคลาวด์ ซึ่งจะให้สถานะแบบเรียลไทม์ และทำให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์มีคุณภาพที่ดีขึ้น

บริษัท HI-LINE Co., Ltd. ให้บริการกระจายสินค้าสำหรับร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ประมาณ 7,000 แห่ง จากฮิโรชิมาทางตะวันตกของญี่ปุ่นไปยังคานางาวะและโตเกียวอยู่ซึ่งทางทิศตะวันออก Akira Hanafusa ผู้จัดการอาหารแช่แข็งที่ทำจากข้าว ซึ่งเป็นศูนย์จัดส่งพันธมิตรที่เนยากาวา อธิบายถึงข้อดีของระบบใหม่ว่า “ในอดีต เราสามารถระบุตำแหน่งของรถขนส่งผ่านการติดต่อทางวิทยุเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ขับขี่หลงทางและโทรหาเราเพื่อขอทิศทางมันเป็นเรื่องยากมากที่จะบอกทางแก่เขา แต่ด้วยระบบในปัจจุบันเราสามารถระบุตำแหน่งพิกัดของคนขับได้ใกล้เคียงเวลาจริง และในตอนนี้เราสามารถทราบถึงอุณหภูมิของช่องแช่แข็งในรถขนส่งซึ่งอยู่ห่างไกลจากสำนักงานของเราได้อย่างแม่นยำอีกด้วย”

Toshio Hagane รองผู้จัดการศูนย์จัดส่งสินค้าของ HI-LINE ซึ่งเป็นพันธมิตรคู่ค้าที่เนยากาวา ชื่นชมระบบใหม่ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับคนขับรถขนส่ง “ในอดีตเราต้องใส่การ์ดหน่วยความจำเข้าไปในอุปกรณ์ในรถยนต์ และทันทีที่คนขับกลับไปที่ศูนย์ พวกเขาจะถอดการ์ดหน่วยความจำและพิมพ์รายงานการขับขี่ของเขาที่สำนักงาน ระบบใหม่นี้เป็นที่ยอมรับอย่างดีจากพนักงานขับรถขนส่ง เพราะพวกเขาไม่ต้องรอพิมพ์รายงานอีกต่อไป”

การรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้อยู่อาศัยเอาไว้และการดูแลสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็น 1 ใน 7 องค์กรค้าปลีกที่ได้รับเลือกเป็นองค์กรสาธารณะภายใต้บัญญัติการรับมือภัยพิบัติ ประเทศญี่ปุ่น เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญในสถานการณ์ภัยพิบัติและการฟื้นฟูสถานการณ์ ร่วมกับร้านค้า Seven & i Holdings และ Ito Yokado ระบบการจัดการในปัจจุบันมีความสามารถแชร์สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านระบบคลาวด์ ระหว่าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทที่บริหารจัดการศูนย์จัดส่งสินค้า ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับการปรึกษาและตัดสินใจอย่างรวดเร็วระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน แท้จริงแล้วระบบนี้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์เมื่อพายุหิมะตกหนักในท้องที่โฮกุริคุเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ที่ทำให้การขนส่งและการกระจายสินค้าต้องหยุดชะงัก

Harajima กล่าวว่า “แม้จะมีหิมะตกหนัก แต่เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังสามารถสื่อสารระหว่างสำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และพนักงานขับรถ ทำให้เราเป็นบริษัทเดียวที่สามารถส่งมอบสินค้าไปยังร้านค้าส่วนใหญ่ของเราได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน ยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาการจราจรทำให้เราไม่สามารถเดินทางได้ เราสามารถที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องได้เช่นนี้เพราะการจัดการแบบเรียลไทม์ ผู้คนเคยนึกถึงร้านสะดวกซื้อว่าเป็นร้านค้าพื้นฐานที่เป็นวิถีชีวิต แต่ทุกวันนี้ร้านเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตไปแล้ว และคุณสามารถพูดได้ว่าระบบการจัดการบนคลาวด์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน”

คาดกันว่า ระบบการจัดการของฟูจิตสึ นอกจากจะนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมอีกด้วย Harajima สรุปว่า “เนื่องจากเรามีรถขนส่งประมาณ 5,900 คันในญี่ปุ่น เราจึงให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มความคล่องตัวในการบรรจุสินค้าใส่รถยนต์ จัดกลุ่มร้านค้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และการดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของเรานำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับสโลแกนของเราที่ว่า “ใกล้และสะดวก” เราเปลี่ยนแปลงพื้นที่ขายในร้านค้าเป็นประจำทุกวัน และเราปรับเปลี่ยนวิธีการกระจายสินค้าของเราด้วย ซึ่งหมายความว่า

ระบบก็ต้องเปลี่ยนให้ทัน เราเชื่อมั่นในฟูจิตสึว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนระบบไปตามความก้าวหน้าเหล่านี้ และหวังว่าจะได้ข้อเสนอสำหรับการจัดหาโซลูชันที่ดีที่สุดในอนาคต”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version