เจาะลึก! เปิดใจ คู่หู Claim Di เปลี่ยนความฝัน สู่ความสำเร็จ Startup Series B

อังคาร ๐๕ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๑๗
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมโครงการ เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ด้วยเสวนาพิเศษ Tech Talk Season 4#11 ในหัวข้อ "เปิดใจ คู่หู Claim Di เปลี่ยนความฝัน สู่ความสำเร็จ" Startup Series B” ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ ดร.ชูพรรณ โกวานิชย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และคุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ (แจ๊ค) CEO บริษัท Anywhere to go มาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรง พอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้

ดร.ชูพรรณ เล่าว่า เรียนจบมาทางด้านการเงินและก็มาทำงานอยู่บริษัททางด้านไอทีอยู่ 8 ปี ตอนนี้เป็นโค้ชให้กับหลายบริษัท ตัวอย่าง Application Claim Di ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นด้านประกันภัยรถยนต์ เมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาติดตั้ง ก็สามารถแสดงสถานที่เกิดอุบัติเหตุให้เห็น เมื่อพนักงาน Call Center เห็นว่า เกิดอุบัติเหตุที่ไหน ก็ส่งตัวแทนประกันภัยมา ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงก็ถึงสถานที่เกิดเหตุ การทำสตาร์ทอัพได้เงินทุนมาจากไหน (How does startup raise fund?) ตอนแรกได้ทำงานวิจัยขึ้นมา เมื่อทำเสร็จแล้วก็เกิดไอเดียขึ้นมา พวกเราเป็นกลุ่มแรกที่ทำเรื่อง Startup ขึ้นไปถึง Series A และนำไปโชว์ให้ทางรัฐบาลดู และทางรัฐบาลก็พอใจได้มา 1 ล้านเหรียญ ส่วนปลายทางของเราคือ การไปสู่ Unicorn ตอนนี้ มีไทย สิงคโปร์ ไนจีเรีย ต่อไปก็อาจเป็นประเทศใต้หวัน

ปัจจุบัน การขอ Funding ไม่ใช่เรื่องยาก ตอนนี้ทางรัฐบาล บริษัทหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยก็มีทุนสนับสนุนให้ ตอนนี้มี 330 ล้านเหรียญ เงินที่ให้มาส่วนใหญ่เป็นเงินให้เอาไปใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการตลาด Startup ต้องสร้างขึ้นมาเดี๋ยวนี้ เกิดขึ้นเร็ว ตอนนี้ในประเทศไทยมี Startup เป็นแสนราย ในอดีตกว่าจะสร้างธุรกิจได้ต้องใช้เวลาร่วม 10 ปี การทำ Startup Claim Di มี 4 Modules คือ: (1). เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็กดแอพพลิเคชั่น (2). การชนแห้ง เช่น ชนเสา ไม่มีคู่กรณี ถ่ายภาพเอาไว้แล้วส่งให้ทางบริษัทประกันภัย เมื่อก่อนพนักงานประกันภัยต้องขับรถไปดูเหตุการณ์ (3). การทำประกันต้องตรวจสภาพรถ นัดตรวจสภาพรถ (4). น็อคฟอร์น็อค ต่างคนต่างก็มีประกัน เมื่อดูภาพก็จะเห็นชัดเจนว่า ใครถูกใครผิด ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของประกันภัย

การทำ Startup ต้องมีไอเดีย เมื่อได้ไอดียแล้ว ต้องเอาไปให้คนอื่นหลายๆ คนดู แล้วจึงนำมาทดสอบ (Test) เมื่อทดสอบแล้วก็หาคนมาช่วยกันพัฒนา ก็จะสามารถทำให้งานดำเนินต่อไปได้ ไอเดียดีกว่าเงิน ถ้าหากมีไอเดีย หรือความคิดดีนั้น สามารถนำไปจดสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรได้ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาแล้วก็เป็นลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน คนที่พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะหากไม่ไปจดลิขสิทธิ์ เวลาโด่งดังขึ้นมาแล้วจะมีปัญหาภายหลัง ความจริงเรื่องของซอฟต์แวร์นั้น คนที่เป็นคนต้นคิดจะเป็นเจ้าของ IP (สิทธิบัตร) ส่วนผู้พัฒนาจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน การจดทะเบียน IP นั้น สามารถจดได้ทั่วโลก ในการทำสตาร์ทอัพต้องหาโซลูชั่นให้ได้ หลังจากได้โซลูชั่นแล้ว ต้องมาทำเรื่องการเงิน กลยุทธ์ในการวิเคราะห์ใช้ ตัวแบบของปัจจัยกดดันทั้ง 5 (Five Force Models) ของ Michael E. Porter เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คู่แข่ง สภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ สำหรับ Application Claim Di นั้น ในปี ค.ศ.2014 คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ (คุณแจ็ค) ได้ส่งแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Claim Di (เคลมดิ) เข้าประกวด ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับประกันภัย จัดเป็น Startup ประเภทหนึ่ง และได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ Dtac AccelerateBatch2 เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีความแตกต่างไม่เหมือนใคร และสามารถแก้ไขปัญหาที่ธุรกิจประกันภัยที่ประสบกับปัญหากันมานานที่เรียกกันว่า Pain Point เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน เมื่อก่อนต้องใช้เวลารอนานมากกว่าตัวแทนประกันจะมาถึง แต่ปัจจุบันสามารถใช้แอพพลิเคชั่น Claim Di ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอนาน และสามารถออกใบเคลมประกันผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้ แอพพลิเคชั่น Claim Di นี้ ตอนแรกได้งบ 1.5 ล้านบาท แต่พอวันรุ่งขึ้นมูลค่างานได้เพิ่มขึ้นมาจนได้งบถึง 20 ล้านบาท นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า หากไอเดียดี ความคิดดี เดี๋ยวเงินก็เข้ามาเอง ดังนั้น Claim Di จึงเป็นแอพพลิเคชั่นของคนไทยที่สามารถก้าวขึ้นมาถึง Series A ได้ ซึ่งเดิมเป็น Prototype มาจาก Series B ทางเราต้องประเมิน Solution ด้วย Business Model Canvas ทำให้สามารถประหยัดเวลาได้ 80% สามารถประหยัดเงินได้ 90% และมีความถูกต้องป้องกันการโกงได้ 100% สำหรับ Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ Alex Osterwalder และ Yves Pigneur คิดขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะ “ลงทุน” เพื่อประโยชน์ได้แก่ (1). ทำให้เข้าใจภาพรวมและรู้รายละเอียดของธุรกิจได้มากขึ้น (2).ทำให้ปิดช่องว่างรูปแบบการทำธุรกิจช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นภาพรวม (Visualizing) (3).การมองเห็นได้ครบทุกมิติมากขึ้นช่วยให้ผู้ประกอบการประเมินความเสี่ยงในการลงทุนสามารถตอบโจทย์สำคัญของการทำธุรกิจนั่นคือทำอย่างไรให้มี “กำไร” (Source: businessmodelgeneration.com) และ Business Model Canvas ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ (1). ทำอย่างไร (HOW) (2).ทำอะไร (What) (3). ทำให้ใคร (Who) และ (4). เงินที่เกี่ยวข้อง (Money) นอกจากนี้ ยังมี หลักการ 4 ประการเพื่อเตรียมข้อมูล Business Canvas คือ (1). ทำอะไร (2).ขายให้ใคร (3).ทำอย่างไร (4).คุ้มค่าแค่ไหน

ในส่วนของคุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ (แจ๊ค) หัวหน้าทีม Claim di ทีมชนะเลิศการแข่งขัน DTAC Accelerate ปี 2014 ได้เล่าว่า เขาเคยอ่านหนังสือของคุณเรืองโรจน์ พูนผล (กระทิง) เขาเคยเอา Software Eliminate ไปทำการแข่งขัน ปรากฏว่าไปเจอคุณกระทิงเป็นคณะกรรมการตัดสิน และตัดสินให้เขาเข้าไปอยู่ใน DTAC Accelerate หลังจากเจอคุณกระทิง และคุณกระทิงก็ชวนเขาให้เข้ามาร่วมงานด้วย คุณกระทิงบอกเขาว่า ให้เวลา 4 เดือน คุณต้องขายของให้ได้ คุณต้องหาลูกค้าให้ได้ Startup ให้เงินทุนมา $10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้ใช้ชีวิตอยู่ใน Camp เป็นเวลา 4 เดือน มีคนเก่งทั่วโลกมาสอน ตอนที่อยู่ใน Camp เขาสอนเรื่องใหม่ทั้งหมด เป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย และได้ไอเดียในการทำเรื่องการเคลมประกัน ในปี ค.ศ.2014 ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 11 ราย กลายเป็น 17 ราย ได้เงิน $35,000 ดอลล่าร์สหรัฐ นี่คือวิธีการของ Startup ต่อมาได้เงินเพิ่มอีก 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในแอพพลิเคชั่น Claim di เป็นการทำธุรกรรมแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business: B2B) Startup เป็นการทำงานแบบควาย เพราะต้องเติบโตแบบ 5-10 เท่า ไม่ได้เป็นเจ้าของตลอดชีวิต มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ Startup อาจจะเริ่มจากธุรกิจครอบครัว ธุรกิจที่พ่อ-แม่ทำอยู่แล้ว เช่น การส่งผัก อย่าเริ่มจากสิ่งที่คุณไม่รู้จัก แต่ควรจะเริ่มจากสิ่งที่คุณชำนาญ รู้เรื่องจริงเท่านั้น สำหรับเรื่องเกี่ยวกับอุบัติเหตุนั้น เมื่อก่อนเวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน ต้องใช้การถ่ายรูปถึง 36 รูป แล้วนำไปล้าง เมื่อล้างรูปเสร็จแล้ว ส่งไปให้บริษัทประกัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น กว่าจะเคลมประกันได้ใช้เวลานานมาก ในวันหนึ่งพนักงานประกันสามารถทำได้เพียง 3 งาน

ตนเองจึงมีแนวคิดว่า โทรศัพท์มือถือที่คนใช้งานกันอยู่โดยทั่วไปนี้น่าจะนำมาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง จึงเริ่มทำการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Claim Di ขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 ถึงปี ค.ศ.2014 เมื่อพนักงานไปถึงจุดเกิดเหตุได้เร็ว คนประสบอุบัติเหตุก็มีโอกาสรอดชีวิตได้มาก คล้ายกับ 911 ของอเมริกา หรือ 191 ของประเทศไทย Claim Di มาเร็ว เคลมเร็ว บริษัทประกันเอาไปโฆษณา บางคนคิดว่าเป็นแอพพลิเคชั่นของคนต่างชาติ แท้จริงแล้วเป็นนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นของคนไทย คำว่า Claim Di มาจากคำว่า จริงดิ ถ้าภาษาอังกฤษ Claim Di มาจาก Digital ปัจจุบัน Claim Di มีมูลค่า 1,000 ล้านบาท ในปี ค.ศ.2014 มีมูลค่าเพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น ในลำดับต่อไปคิดว่าจะทำให้มีมูลค่าถึง 3,000 ล้านบาท เมื่อถึง 3,000 ล้านบาทแล้วอาจจะมีคนมาขอซื้อบริษัทของเรา แล้วจะเปลี่ยน Business Model จากเดิมมีบริษัทรถยนต์เข้าร่วม 50% และจะมีบริษัทรถยนต์เข้ามาร่วมถึง 100% ถ้าถามว่า การทำ Startup เจอปัญหาอะไรบ้าง? การทำ Startup และ SMEs นั้นต้องทำด้วยใจรัก ไม่อยากทำตามแฟชั่น ตัวเราเองไม่อยากทำงานบริษัท เรียนจบมาทางด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เมื่อเรียนจบมาแล้วไปเจอเหตุการณ์อุบัติเหตุอย่างนี้ จึงคิดว่า น่าจะนำเอามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง Startup และ SMEs ต้องสามารถทำเงินได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง คำว่า Startup กับ SMEs แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา วัฒนธรรมขององค์กร ความเป็นเจ้าของกิจการก็แตกต่างกัน “SMEs ทุกคนไม่ได้เป็น Startup แต่ Startup คือ SMEs” สรุปความคือ Startup คือ SMEs แต่มีการเปลี่ยนแปลงคือมีจุด Big Point หมายความว่า พอมาถึงจุดหนึ่งแล้วต้องเปลี่ยน

ความจริงแล้วในชีวิตคนเรา มีปัญหามากมาย เราต้องสู้กับปัญหา ต้องเป็นปลาเร็ว แล้วคุณจะเก่งขึ้น ตอนผมเรียนอยู่ ไม่เคยมีใครมาเล่าเรื่องให้ฟังอย่างนี้ ถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำเราก็ยังอยู่กับมัน เพราะถ้าประสบความสำเร็จแล้วมันจะทำให้ไม่อยากทำ เราต้องล้างจิตใจเราทุกคนเรียกกันว่า เราต้องมีความรักอย่างหลงใหล (Passion) เมื่อเราอยากจะทำอะไรก็ให้รีบทำ เช่น พี่ตูน ตอนวิ่งการกุศลก็เจอปัญหามากมาย ถ้าเราทำในสิ่งที่เรารักเราก็จะทำได้ แต่ถ้าทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่อาจจะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นต้องทำจิตใจเราให้มีความรักในสิ่งที่ทำแล้วมันจะทำให้จิตใจเรามีพลังมหาศาลทีเดียว.

บทความโดย : ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม