สิ่งที่ต้องเตรียมในการสื่อสารช่วงวิกฤตเพื่อช่วยธุรกิจของคุณ

อังคาร ๐๕ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๓๙
ธุรกิจในอุสาหกรรมต่างๆ ล้วนต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤต ซึ่งก็คือเหตุการณ์สำคัญขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อองค์กร บริษัท ผู้คน หรือแม้กระทั่งสินค้าและบริการ ซึ่งผลลัพธ์นั้นอาจได้แก่ การสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บ และสูญเสียชีวิต สภาวะวิกฤตมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยเจตนา เช่น การก่อการร้าย วินาศกรรม การประพฤติมิชอบขององค์กร หรือที่เกิดขึ้นเอง เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฯลฯ ดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจข้อแตกต่างเหล่านั้นจะช่วยลดผลกระทบที่ตามมา

เพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤต องค์กรส่วนใหญ่มักจะมี “การวางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต” ที่เป็นแนวทางในการลดผลกระทบต่างๆ วิธีการแก้ไขนั้นสามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันแผนการสื่อสารก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยง และปัจจัยอื่นๆ อันก่อให้เกิดภาวะวิกฤตที่ยืดเยื้อสิ่งที่ต้องเตรียมในการสื่อสารช่วงวิกฤต เป็นชุดคำสั่งและคำแนะนำ มีไว้เพื่อช่วยองค์กรในการเตรียมตัว การปฏิบัติ ไปจนถึงการฟื้นตัว ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ 1. ก่อนวิกฤต 2. วิกฤต 3. หลังวิกฤต แต่ละช่วงจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป

ในช่วงก่อนวิกฤต จะมีการเตรียมตัวก่อนเหตุการณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้น ขั้นตอนแรกคือการประเมินความเสี่ยงทั่วไป โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ต่อจากนั้นจะเป็นการก่อตั้งทีมจัดการวิกฤตการณ์ ซึ่งต้องผ่านการซ้อม การจำลองสถานการณ์ร่วมกับพนักงานภายใน ขั้นตอนต่อมาคือกำหนดบัญชีรายชื่อ เพื่อการติดต่อฉุกเฉิน เช่น ตำรวจท้องถิ่น นักดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นต้องมีการสร้างข้อความและช่องทางประชาสัมพันธ์ต่อ พนักงาน ผู้ลงทุน สื่อมวลชน และสาธารณชน สุดท้ายคือการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทเพื่อรายงานสถานการณ์ในภาวะวิกฤต

การปฏิบัติการในช่วงวิกฤตนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการกระทำเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์วิกฤตกำลังดำเนินอยู่ ข้อมูลของวิกฤตนั้นๆ ที่ทีมจัดการวิกฤตการณ์รวบรวม จะถูกเสนอให้แด่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ เช่น ผู้บริหาร หรือคณะกรรมการ หลังจากนั้นจะมีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นออกไป

มีหลากหลายวิธีในการเผยแพร่ข้อมูลและติดต่อกับสื่อมวลชน การจัดงานแถลงข่าวเป็นหนึ่งในวิธีที่พบได้ทั่วไป ตัวแทนประจำองค์กรสามารถให้สัมภาษณ์เป็นกลุ่มหรือแบบหนึ่งต่อหนึ่งโดยตรง หรือการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ การประชุมทางวิดีโอ และอีเมล์ อีกทั้งองค์กรสามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับสื่อได้อีกด้วย นอกจากการสื่อสารแล้ว การรับฟังก็เป็นการกระทำที่สำคัญเช่นกัน ทีมจัดการวิกฤตการณ์จะวิเคราะห์การสนทนา และเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตามบทสนทนาเหล่านั้น ซึ่งข้อแนะนำเหล่านี้มีเพื่อให้องค์กรดำเนินการปรับปรุงการสื่อสาร

เมื่อภาวะวิกฤตนั้นสงบลง จะเป็นการเข้าสู่ช่วงหลังวิกฤต ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการปฏิบัติคือ การประเมินประสิทธิภาพของแผนการสื่อสารว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่ เมื่อตลาดมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือทีมจัดการวิกฤตการณ์จะต้องทบทวนและแก้ไขแผนการรับมือตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แม้ว่ากระบวนการวางแผนอาจจะน่าเบื่อ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำ เพื่อให้รอดพ้นสถานการณ์วิกฤตและลดผลกระทบด้านลบต่อองค์กรและแบรนด์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO