เกษตรฯ ลุยต่อเปิดตลาดดอกอัญชันเข้าอินโดนีเซีย

อังคาร ๐๕ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๗
กรมวิชาการเกษตร ดันดอกอัญชันไทยเจาะตลาดอินโดนีเซีย โชว์ฟอร์มสุดยอดเจรจาพร้อมส่งข้อมูลวิชาการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชยื่นอินโดฯ เปิดตลาดสำเร็จภายใน 4 เดือน ผู้ประกอบการเฮพร้อมส่งออกได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า อัญชันจัดเป็น 1 ในพืชสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมายที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง เนื่องจากมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) เป็นสารสำคัญมากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 10 เท่า มีคุณสมบัติช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด บำรุงสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระในดอกอัญชันยังยังช่วยบำรุงผิวพรรณและชะลอริ้วรอยแห่งวัยได้ด้วย

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกดอกอัญชันแห้งไปหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลี มาเลเซีย และออสเตรเลีย โดยเฉพาะออสเตรเลียมีมูลค่าส่งออกสูงถึง ๔,๐๐๐ บาท/กิโลกรัม โดยสถานการณ์การส่งออกดอกอัญชันแห้งล่าสุดกรมวิชาการเกษตรสามารถเปิดตลาดดอกอัญชันแห้งของไทยไปสู่ตลาดประเทศอินโดนีเซียเป็นผลสำเร็จเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเทศโดยผู้ประกอบการสามารถส่งออกได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 นี้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรในฐานะเป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) ของประเทศไทย ได้ดำเนินการยื่นขอเปิดตลาดและส่งข้อมูลทางวิชาการประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชดอกอัญชันแห้งเสนอหน่วยงานกักกันพืช กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย Indonesian Agricultural Quarantine Agency (IAQA) เพื่อพิจารณาเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา พร้อมกับได้มีการประสานงานเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องจนได้รับหนังสือตอบรับจากหน่วยงานกักกันพืชของอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆ นี้ แจ้งว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของดอกอัญชันแห้งจากประเทศไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมส่งร่างข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชของดอกอัญชันแห้งจากประเทศไทยเสนอกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณา ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มีหนังสือตอบยอมรับข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชฯ แจ้งหน่วยงานกักกันพืชของอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว

ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะส่งออกดอกอัญชันแห้งไปยังอินโดนีเซียจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช โดยการส่งออกต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Requirement) ซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตรแนบไปพร้อมกับสินค้า สินค้าต้องไม่มีการปนเปื้อนแมลงที่มีชีวิต ศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ วัชพืช ดิน ราก หรือวัสดุที่สามารถนำพาศัตรูพืชได้ ต้องผ่านการทำความสะอาด อบแห้งด้วยความร้อนในเตาอบที่อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8-10 ชั่วโมง และบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แสดงฉลากเพื่อใช้ในการทวนสอบได้

“กรมวิชาการเกษตรได้ยื่นขอเปิดตลาดและส่งข้อมูลทางวิชาการประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชดอกอัญชันแห้งเสนอหน่วยงานกักกันพืช กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียพิจารณา จนประสบผลสำเร็จภายในระยะเวลา 4 เดือนจึงสามารถเปิดตลาดใหม่ให้กับดอกอัญชันแห้งของไทยได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2561-1680 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้