สั่ง Delivery อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๓๐
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทำให้คนส่วนใหญ่มีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลายหน่วยงานมีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ร้านอาหารแบบนั่งทานที่ร้านปิดให้บริการและเปลี่ยนเป็นการซื้อกลับบ้านหรือสั่ง Delivery แทน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสั่ง Delivery ให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อไวรัส ตั้งแต่ร้านอาหาร คนขนส่งอาหาร ไปจนถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของตัวเราเองในฐานะผู้สั่งซื้ออาหาร เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ดังนี้

ร้านอาหาร Delivery

เลือกร้านที่รักษาความสะอาดของสถานที่ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร

อาหารของร้านจะต้องปรุงให้สุก เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส

มีการจัดภาชนะบรรจุอาหารให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ปิดฝามิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง

ติดฉลากระบุ วันผลิต วันหมดอายุ และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร

ร้านอาหารมีการจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการ โดยจัดระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม

คนขนส่งอาหาร Delivery

ผู้ขนส่งอาหารควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการไอ จาม ปนเปื้อนอาหาร และเป็นการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ

ผู้ขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหาร และหลังจับเงิน

ไม่รับอาหารจากคนขนส่งอาหารที่มีอาการป่วย เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ

ระบุจุดรับ-ส่งอาหาร โดยทิ้งระยะห่างระหว่างคนขนส่งอาหารอย่างน้อย 1 เมตร

ผู้สั่งซื้ออาหาร Delivery

หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ทำโดยวิธีใช้มือสัมผัสมาก เป็นต้น

สวมหน้ากากอนามัยระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร

หลังจากรับอาหารจากคนขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ตรวจสอบคุณภาพอาหารและภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพปกติ

เลือกวิธีชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับเงิน

นอกจากนี้ รศ.ดร. ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แนะนำวิธีเลือกรับประทานอาหารในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภท Delivery ว่า เราควรเลือกบริโภคอาหารให้หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารที่ทานในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ควรเพิ่มเมนูผักเข้าไป ซึ่งบางท่านไม่ชอบทานผักก็อาจจะเริ่มต้นวันละนิด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูผัดผัก แต่เป็นเมนูปกติที่ใส่ผักเข้าไปเพิ่ม หรือเปลี่ยนมาเป็นผักที่เตรียมเองจากที่บ้านจะสะอาดกว่า ส่วนอาหารจำพวก ปิ้ง ย่าง ทอด ควรทานให้น้อยลง เนื่องจากอาหารทอดมีไขมันค่อนข้างสูง อาหารปิ้งย่างมีสารก่อมะเร็ง ควรเปลี่ยนเป็นอาหารประเภทผัดหรือต้มแทน

“Work from Home อาจทำให้เครียด หลายคนมีการรับประทานมากขึ้นเพื่อลดความเครียด เราควรเปลี่ยนเป็นการทานผลไม้ น้ำผลไม้ แทนขนมขบเคี้ยว และพยายามควบคุมการปริมาณการทาน เช่น คนส่วนใหญ่เปิดถุงขนมแล้วก็จะทานจนหมดถุง วิธีแก้คือ ให้เทขนมใส่ภาชนะ ถ้วย หรือชามเล็กๆ แทนที่จะทานในถุง เราจะได้จำกัดว่าหมดชามนี้แล้วให้พอ” รศ.ดร. ขนิษฐา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version