อักษร เอ็ดดูเคชั่น ปรับตัวสู่ New Normal เปิดห้องเรียนออนไลน์ “Aksorn On-Learn” ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๐๘
สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบและเกิดปรากฏการณ์ “ความปกติใหม่” (New Normal) สร้างความท้าทายให้แวดวงการศึกษาโลกและไทย จุดประกายการใช้เทคโนโลยีสร้างการเรียนการสอนสำหรับทุกคน อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและกระบวนการเรียนการสอนครบวงจร พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาให้ทันโลก พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ภายใต้ชื่อ Aksorn On-Learn ก้าวข้ามขีดจำกัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านโลกออนไลน์ ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้เรียนสำหรับโลกยุคใหม่ สอดคล้องกับสถานการณ์การเลื่อนเปิดเทอมของเด็กไทย เรียนรู้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

นายตะวัน เทวอักษร กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกจำเป็นต้องปิดการเรียนการสอนในห้องเรียน ในประเทศไทยเองก็มีมติ ครม. ประกาศเลื่อนเปิดเทอมไปจนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งหากพิจารณาแล้ววิกฤตในครั้งนี้ ถือเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้สถาบันการศึกษาและครูผู้สอนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม และถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะกลายเป็นโอกาสในการต่อยอดการศึกษาในอนาคต ประเด็นสำคัญ คือ แม้รูปแบบการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ต้องคงไว้คือประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอน การเรียนรู้ยังคงต้องน่าสนใจ ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ สะดวกใช้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน และนี่ถือเป็นโจทย์สำคัญที่เราใช้ในการออกแบบ Aksorn On-Learn ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน”

คุณตะวัน ยังกล่าวอีกว่า การเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนถือเป็นเพียงการเปลี่ยนช่องทางในการนำเสนอเท่านั้น แต่กระบวนการการเรียนรู้และเนื้อหายังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเสมอ การกระตุ้นเด็ก ๆ ด้วยคำถาม เปิดโอกาสให้วิเคราะห์และใช้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และรักที่จะใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต และแม้ว่าในช่วงนี้จะเกิดดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมายแต่สิ่งที่เราตระหนัก คือ จะต้องสามารถปรับใช้ได้กับทุกบริบทของห้องเรียน

Aksorn On-Learn ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียนและผู้สอน มาในรูปแบบของ e-book และคลิปวิดีโอ ใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อการเรียนรู้ Interactive 3D สื่อการเรียนรู้ Interactive Software ภาพยนตร์สารคดีสั้นเพื่อการศึกษา สไลด์ประกอบการสอน ไฟล์เสียงประกอบการสอน ผู้เรียนเรียนสนุก ผู้สอนสอนสะดวก สามารถจัดตารางการเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดเวลา เรียนรู้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ผู้เรียนสามารถพัฒนาและทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนสามารถจำลองบรรยากาศการเรียนในชั้นเรียนได้อย่างง่ายดาย ครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้แพลตฟอร์มพร้อมกันได้ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ได้ที่ www.aksorn.com/aksornonlearn โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

“การสอนให้ผู้เรียนได้มีสติปัญญาความรู้ ไม่เพียงพอกับการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่อีกต่อไป โลกที่เชื่อมถึงกันและกัน คนที่ประสบความสำเร็จต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน “นักการศึกษา” จำเป็นต้องผลักดันให้คนรุ่นใหม่รู้จักพัฒนาตนเองให้มีคุณค่าต่อสังคม ความคิดสร้างสรรค์ในการเป็นผู้สร้างนวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการจะมองหา” คุณตะวัน กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ