8 พฤษภาคม 2563: นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า “การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่า จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ ในประเทศไทย จะมีแนวโน้มลดลง แต่สถานการณ์ก็ยังต้องอยู่ในการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำรอบสอง โดยภาคใต้ เป็นอีกพื้นที่เฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ทั้งจากการเดินทางเข้า - ออก ผ่านพื้นที่ชายแดนภาคใต้ หรือการเดินทางข้ามเขตจังหวัดของประชาชนในช่วงคลายมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึง ยังมีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษา เอไอเอส ภายใต้ภารกิจ AIS 5G สู้ภัย COVID-19 จึงยังคงทุ่มเท ระดมสรรพกำลัง ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อม Digital Solutions เพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และพยาบาล ที่โรงพยาบาลสนาม ในภาคใต้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย
จับมือ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนเทคโนโลยี Digital เสริมขีดความสามารถให้กับหุ่นยนต์ ADA Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ โดยหุ่นยนต์ทำเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1. ทำหน้าที่ส่งยา อาหาร และเวชภัณฑ์ต่างๆ รวมถึง พูดคุยสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและหมอผ่านระบบวิดีโอคอลล์ และรุ่นที่ 2 เพิ่มกล้องตรวจวัดอุณหภูมิ เพื่อประเมินการรักษาเบื้องต้น
ซึ่งหุ่นยนต์จะถูกนำไปใช้งานที่โรงพยาบาลต่างๆ ในภาคใต้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยงให้กับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สนับสนุนอุปกรณ์สื่อสาร พร้อมติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และขยายสัญญาณเครือข่ายเพื่อรองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ภายในศาลากลางหลังใหม่ จังหวัดภูเก็ต
ซึ่งถูกจัดให้เป็นโรงพยาบาลสนามแห่งแรกของภาคใต้ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของทีมแพทย์ พยาบาลสนับสนุนอุปกรณ์สื่อสาร เสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลต่างๆ
เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ รพ.สุราษฎร์ธานี, รพ.สุไหงโกลก, รพ.ปัตตานี, รพ.หาดใหญ่, รพ.ยะลา, รพ.สงขลานครินทร์, รพ.สงขลานครินทร์ 2 (รพ.สนาม), รพ.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (รพ. สนาม)