นายโทมัส พาร์ค ผู้แทนมูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย กล่าวว่า “วิกฤตครั้งนี้เหมือนกับคลื่นยักษ์ที่ถาโถมใส่ระบบการศึกษาไทยและทำให้หลายภาคส่วนอยู่ในสภาวะชะงัก เราจึงมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพื่อให้ครู นักเรียน และผู้ปกครองสามารถเชื่อมต่อกับสื่อการเรียนรู้ที่มีอยู่”
“การไม่ได้ไปโรงเรียนหมายถึงการเรียนรู้และพัฒนาการของนักเรียนได้ถูกชะงักลง ไม่สามารถต่อเนื่องได้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทางมูลนิธิเอเชีย และรัฐบาลออสเตรเลีย มีความตั้งใจที่จะสร้างเวปพอร์ทัล www.thailandlearning.org เพื่อเป็นสื่อสร้างสรรค์ให้นักเรียนในช่วงหยุดเรียน " ดร. รัตนา แซ่เล้า เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม
เนื่องจากต้องมีการปรับตัวสำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยเฉพาะในช่วงเวลาดังกล่าว พอร์ทัลจึงถูกออกแบบมาให้มีฟังชันก์การใช้งานที่สะดวกและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ เนื้อหาภายในพอร์ทัลถูกรวบรวมมาจากแหล่งการศึกษาที่หลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากทั่วโลกเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยแบ่งเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งคือ การเรียนรู้ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาแบบเรียนจากหลากหลายวิชา ให้สอดคล้องกับการเรียนในวิชาในห้องเรียน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนที่สองคือ ทัศนศึกษา ซึ่งรวบรวมเนื้อหา Google culture และพิพิธภัณฑ์จากทั่วทุกมุมโลกที่สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้ ส่วนที่สามคือ เครื่องมือ ซึ่งนำเวปต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้แบบออนไลน์ได้ ในระดับง่ายถึงยากต่างกัน
ท้ายสุด ดร. รัตนากล่าวว่า “ช่วงเวลาแห่งวิกฤตเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมใน การศึกษามากขึ้น COVID - 19 หยุดโอกาสการเรียนรู้ที่ของนักเรียน แต่ก็เป็นโอกาสที่จะเห็นคุณประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสำหรับประเทศไทย หากบทเรียนนี้ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจัง ประเทศไทยจะสามารถเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และ โอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน”