โดยฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้ทำการทดสอบปริมาณความเข้มแสง (Irradiance) ที่ระยะต่างๆ เพื่อที่จะเก็บข้อมูลว่า การฆ่าเชื้อในระยะที่แตกต่างกัน จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงอายุการใช้งานของหลอดและประสิทธิภาพการถดถอย (Live circle of UVC lamp) เพื่อทราบถึงอายุการใช้งานและประสิทธิภาพของหลอดยูวีซี ซึ่งถือเป็นการนำชุดความรู้ด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีมาตรวิทยามาช่วยพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบให้ตรงกับความต้องการและได้มาตรฐาน เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องรักษาระยะห่างทางสังคม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเชื่อมต่อกับกิจกรรมทางสังคม จะทำให้สถานพยาบาล อาคารสำนักงาน หรือพื้นที่ระบบปิดอื่นๆ สามารถใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์ เพื่อลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะวิกฤต โดยบริษัทฯ จะนำเครื่องต้นแบบดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำการส่งมอบให้กับโรงพยาบาล
ในโอกาสนี้ นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการ มว. พร้อมด้วย นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการ และ ร.ท.อุทัย นรนิ่ม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนักมาตรวิทยา ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง ได้ทำการส่งมอบหุ่นยนต์ต้นแบบดังกล่าวให้แก่ คณะผู้บริหารและทีมพัฒนาหุ่นยนต์ฯจากบริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งประกอบด้วยนายนิติ เมฆหมอก กรรมการผู้จัดการ นางสาวรัศมี สืบชมภู รองกรรมการผู้จัดการ นายณัฐวุฒิ อิ่มใจ Product Engineer นายกร โชติพิทักษกุล Software Engineer และนางสาวสัจจาพร พิลึก Business Development เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลที่มีความต้องการใช้งานต่อไป