ฟูจิตสึ เปิดตัว ปาล์มซีเคียว โซลูชันยืนยันตัวตนด้วยลายเส้นเลือดดำบนฝ่ามือแบบไม่ต้องสัมผัส ในตลาดอาเซียนและอินเดีย

ศุกร์ ๒๒ กันยายน ๒๐๐๖ ๑๖:๕๙
กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
บริษัท ฟูจิตสึ เอเชีย จำกัด ผู้นำโซลูชันด้านไอทีและการสื่อสาร เปิดตัว "ปาล์มซีเคียว (PalmSecure)" อุปกรณ์ไบโอเมทริกสำหรับรักษาความปลอดภัย ในตลาดประเทศกลุ่มอาเซียนและอินเดีย ปาล์มซีเคียว เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ได้รับรางวัลยืนยันคุณสมบัติ ซึ่งได้จัดแสดงในงานซีบิท 2006 ในแฮนโนเวอร์ ประเทศเยอรมัน เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และถือเป็นเวอร์ชันที่พัฒนาต่อมาจาก "ปาล์มเวน (Palm Vein)" ที่ได้เคยเปิดตัวในตลาดอาเซียนและอินเดียในช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ฟูจิตสึ ซึ่งถือเป็นผู้นำโซลูชันด้านไอทีอันดับ 3 ของโลก ได้นำเทคโนโลยีของปาล์มเวนมาพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็น "ปาล์มซีเคียว" ซึ่งปล่อยรังสีในลักษณะที่ใกล้เคียงกับอินฟราเรด โดยสามารถรับรู้ถึงลายเส้นเลือดดำบนฝ่ามือที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบในการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าสู่สถานที่สำคัญหรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
เนื่องจากเส้นเลือดดำนั้นอยู่ในร่างกายและมีลักษณะหลากหลายที่สร้างความแตกต่างได้มากมาย ดังนั้นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการซ้ำกันของลายเส้นเลือดจึงเป็นไปได้น้อยมาก โดยปาล์มซีเคียวนั้นมีอัตราการยอมรับที่ผิดพลาด (FAR - False Acceptance Rate) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 0.00008 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการปฏิเสธที่ผิดพลาด (FRR - False Rejection Rate) เพียงแค่ 0.01 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สำหรับอัตราการยอมรับที่ผิดพลาด หมายถึง การที่ระบบอาจปล่อยให้มีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถผ่านระบบตรวจสอบเข้าไปได้ และอัตราการปฏิเสธที่ผิดพลาด หมายถึง การที่ระบบปฏิเสธไม่ให้บุคคลที่ควรได้รับอนุญาต สามารถเข้าสู่ระบบได้ดังปกติ
ระบบของปาล์มซีเคียวจะตรวจสอบและรับรู้ลายเส้นเลือดดำที่มีฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ผ่าน และจากการวิจัยพบว่า แม้แต่ฝาแฝด ก็ไม่มีแนวเส้นเลือดดำที่เหมือนกันอย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้เองปาล์มซีเคียวจึงถือเป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมทริกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้การทำงานของปาล์มซีเคียวยังเป็นแบบไม่ต้องสัมผัส กล่าวคือ ผู้ใช้เพียงแค่วางฝ่ามือไว้เหนืออุปกรณ์ ระบบก็สามารถตรวจสอบลายเส้นเลือดดำได้ทันที เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการรองรับผู้ใช้จำนวนมากเพราะระบบสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญรอยสัก รอยถลอก หรือแผลต่างๆ จะไม่มีผลกับระบบตรวจสอบของปาล์มซีเคียวแต่อย่างใด
สำหรับคุณสมบัติใหม่ในปาล์มซีเคียวที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากปาล์มเวน มีดังต่อไปนี้:
- ขนาดเล็กกะทัดรัด: ปาล์มซีเคียวมีขนาดเล็กกะทัดรัดเพียงแค่ 35 x 35 x 27 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับขนาดของกล่องไม้ขีดไฟทั่วไป และมีขนาดเพียงหนึ่งในสี่ของปาล์มเวนเท่านั้น ช่วยให้การติดตั้งปาล์มซีเคียวในสถานการณ์ต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกขึ้น
- ระบบยืนยันตัวตนที่เร็วขึ้น: เวลาที่ใช้ในการยืนยันตัวตนในปาล์มซีเคียวนั้นใช้ระยะเวลาเพียงแค่ครึ่งนึงของระยะเวลาเดิมที่ใช้ในอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้านี้
- รองรับอุณหภูมิได้สูงขึ้น: ปาล์มซีเคียวสามารถทำงานได้ภายใต้อุณหภูมิสูงสุดถึง 60 องศาเซลเซียส ซึ่งมากกว่าระบบเดิมที่รองรับได้ 50 องศาเซลเซียส และยังช่วยให้องค์กรสามารถนำปาล์มซีเคียวไปใช้ภายนอกอาคารได้อย่างสะดวกขึ้น
- ระบบเชื่อมต่อที่ดีขึ้น: ปาล์มซีเคียวสามารถเชื่อมต่อตรงเข้ากับโน้ตบุ๊กผ่านทางยูเอสบี หรือจะต่อเข้ากับคีย์บอร์ดของเครื่องเดสก์ทอปก็ได้เช่นกัน
- บริการด้านเทคนิคที่เพียบพร้อม: ปาล์มซีเคียวมีเว็บไซต์เฉพาะที่ให้บริการด้านข้อมูลทางเทคนิค บริการคำถามคำตอบต่างๆ ไปจนถึงชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK - Software Development Kit) ที่มีตัวอย่างแอพพลิเคชันและเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำปาล์มซีเคียวไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยชุดพัฒนาซอฟต์แวร์เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นนั้นจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้
"ระบบยืนยันตัวตนด้วยลายเส้นเลือดดำบนฝ่ามือเป็นเทคโนโลยีของฟูจิตสึที่เปิดตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และมีองค์กรมากมายตั้งแต่สถาบันการเงิน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด หน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่ใช้ระบบของเรา" มร. อูโน โมโตฮิโกะ หัวหน้าฝ่ายการตลาดส่วนภูมิภาค ฟูจิตสึ เอเชีย กล่าว "เราภูมิใจในเทคโนโลยีที่ได้รับรางวัลมากมายอย่างปาล์มซีเคียว และเรามุ่งที่จะเป็นผู้นำตลาดในด้านไบโอเมทริกอย่างแท้จริง"
ความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำบนฝ่ามือไปประยุกต์ใช้นั้นมีมากมาย ทั้งในด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบในสถาบันการเงินและธนาคาร ระบบควบคุมการเข้าออก ระบบในสถานดูแลสุขภาพ และในหน่วยงานภาครัฐต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถมั่นใจถึงประสิทธิภาพสูงสุดของเทคโนโลยีดังกล่าวได้ เพราะมีรางวัลเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จมากมาย เช่น
- รางวัลความคิดสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีจากเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล 2005 ในด้านระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่าย
- รางวัลสูงสุดด้านความคิดสร้างสรรค์ "Best of Innovations" จากงานอินเตอร์เนชันแนลคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์ปี 2006 ในกลุ่มเทคโนโลยีไบโอเมทริกส์
ปาล์มซีเคียวได้วางตลาดในประเทศแถบอาเซียน (ประกอบไปด้วยสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) และอินเดียแล้ว หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://th.fujitsu.com หรือโทร 02 302 1500
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :
คุณจารุณี สินชัยโรจน์กุลที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
โทรศัพท์ : 0-2655-6633, 01-488-8442 โทรสาร: 0-2655-3560 อีเมล์ [email protected]
คุณวัชรีพันธ์ ศักดิพงศ์ ฝ่ายการตลาด บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ : 0-2302-1500 #1775, 0-1875-4403 โทรสาร: 0-2302-1555 อีเมล์[email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ