สกสว. เผยความคืบหน้าการจัดสรรงบวิจัยสู้โควิด

พฤหัส ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๔๔
หลังจากที่ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของโควิด19 ทุกภาคส่วนต่างออกมาร่วมมือกันในการรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ ที่ผ่านมา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีนโยบายปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ในส่วนของกระทรวง อว. จำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยประเทศในการสู้ภัยโควิด-19 โดยแบ่งเป็นงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจารย์ทุกมหาวิทยาลัยสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และงบประมาณในการเยียวยาช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจจำนวน 2,000 ล้านบาท ผ่านการให้ทุนสำหรับนักศึกษา หรือดึงคนตกงานกลับมาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงจ้างงานกับบัณฑิตจบใหม่ผ่านโครงการยุวชนสร้างชาติ และอบรมเพิ่มหรือปรับทักษะ (Upskill/Reskill) สำหรับอาชีพหลังโควิด-19 และอีกส่วนหนึ่ง คืองบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จำนวนกว่า 1,000 ล้านบาท จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัย (PMU : Program Management Unit) ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยไทยในการคิดค้นวิธีการแก้วิกฤตครั้งนี้

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยว่า ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการปรับแผนจัดสรรงบประมาณ Strategic fund ปีงบประมาณ 2563 โดยมีการเพิ่มในส่วนของโปรแกรม (Program) 17 คือ การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ โดยเน้นเร่งด่วนเรื่องโควิด19 และปัญหาภัยแล้ง โดยการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศนั้น ในส่วนประเด็นโควิด19 มีการออกแบบการทำงาน ตามเป้าหมายสำคัญแบ่งออกเป็น 3 ระยะ เริ่มต้นด้วยระยะเร่งด่วน คือ การแพร่กระจายของโรคระบาด การบริหารจัดการภาวะวิกฤตระยะปานกลาง คือ ความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของมนุษย์ และระยะยาว คือ การสร้างความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม สำหรับการจัดการระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อรับมือกับโควิด 19 ในภาวะวิกฤตและหลังภาวะวิกฤต ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มิติของเศรษฐกิจและสังคม มิติของการสื่อสารและการรับรู้ ตลอดจนมิติของมาตรการและการเตรียมการหลังภาวะวิกฤต ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปยังหน่วยบริหารจัดการโปรแกรม จนกระทั่งได้ผลงานวิจัยสำคัญที่สามารถช่วยหยุดยั้งวิกฤตโควิด เช่น

ความสำเร็จการผลิตชุดตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 20,000 ชุด มอบให้กับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ร่วมกันสนับสนุนทุนวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตชุดตรวจ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real-Time RT- PCR (qPCR) เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยพัฒนาและผลิตชุดตรวจจาก prototype ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาขึ้น

ทางด้าน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.) ก็ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “COVID-19 Multi-Model Comparison Consortium (CMMC)” สร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติ โดยการสร้างแบบจำลอง (Model) เพื่อการวางแผนในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อวางแผนการจัดเตรียมโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการแบบจำลองทางด้านผลกระทบ เพื่อการวางนโยบายของประเทศ

ส่วนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีการเสนอแผนและโครงการ เช่น การจัดการความเสี่ยงในพื้นที่โดยมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โดยมีการวางเป้าหมายการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยในพื้นที่จัดการข้อมูล ความรู้และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบปัญหาเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด19 ใน 10 จังหวัดเป้าหมาย และมีแผนโครงการการบริหารจัดการหลังภาวะวิกฤต การสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic activity) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก/ชุมชนในพื้นที่แบบเร่งด่วนรองรับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 เพื่อมุ่งหวังยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยโดยอาศัยกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มีแผนงานหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมสำหรับการพัฒนาเชิงพื้น ที่ 4 หน่วย (มุ่งเน้นการแก้ปัญหาจากโควิด19) โดยฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และการจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชุมชน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) มีแผนงานโครงการ การนำร่องเพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจรเพื่อให้เสริม กับการรักษาตามมาตรฐานในผู้ป่วโควิด19 ที่มีอาการน้อย เป็นการศึกษาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด19 ที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน ตลอดจนเปรียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ยังมีแผนงานโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินโครงการการใช้เทคโนโลยี RT-LAMP และ Genome Evolution Analysis เพื่อการตรวจวินิจฉัยเชื้อ 2019-nCoV เพื่อพัฒนาชุดตรวจ RT-LAMP สำหรับตรวจหาเชื้อโควิด19 โครงการ นวัตกรรมหน้ากากอนามัยนาโนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัสแบบซักได้ เพื่อพัฒนาต้นแบบหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันโควิด19 ได้ สามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ช่วยให้ประชาชนและบุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ได้ และ วช. ยังมีแผนโครงการการพัฒนาหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูงเพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อพัฒนาป้องกันเชื้อโรคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แบบคลุมศีรษะ มีพัดลมพร้อมชุดกรอกอากาศประสิทธิภาพสูงที่มีแรงดันภายในหน้ากากเป็นไปตามมาตรฐาน และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย

ทางด้าน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีโครงการในแผนงานสำคัญ โควิด19 เช่น การสังเคราะห์มาตรการและนโยบายของรัฐบาลเพื่อลดการแพร่ระบาด ของเชื้อโควิด-19 จากผลการประเมิน การปฏิบัติตนของประชาชนไทยตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการ“อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ในประชาชนไทย และนโยบายหรือมาตรการหรือข้อแนะนำอื่น ๆ เช่น การรักษาระยะห่าง (Physical distancing), การใส่หน้ากาก, การล้างมือ, การลดการสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก และตา ตลอดจนคำแนะนำในการปรับปรุงนโยบายสาธารณะเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด19 โครงการวิจัยพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เป็นการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบของระบบการแก้ปัญหาโควิด19 ในประเทศไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โครงการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนโครงการในโปรแกรม 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ โดยหน่วยงานทั้งหมดนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดสรรงบประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อมุ่งหวังให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการช่วยแก้วิฤตโควิด19 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพาทุกคนไทยทุกคนก้าวผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย