สกสว. รับลูก กระทรวง อว. ดีไซน์แผนโปรแกรมวิจัยเชิงรุกฝ่าวิกฤตโควิด – 19

พฤหัส ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๐
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุม รัฐมนตรี อว. พบ สกสว. และพีเอ็มยู (หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัย) เพื่อรับฟังข้อมูลความก้าวหน้าด้านการขับเคลื่อนแผนงานระบบวิจัยของประเทศ โอกาสนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Fund) ประจำปีงบประมาณ 2563 ว่า ปัจจุบันทางกรมบัญชีกลางได้โอนงบประมาณเพื่อจัดสรรเข้ากองทุน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ซึ่งทาง สกสว. ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้กับพีเอ็มยู ในภาพรวมประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่ด้วยสถานการณโควิด–19 จึงได้มีการปรับงบประมาณรองรับวิกฤตการณ์ โดยในส่วนของงบประมาณวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Fund) ประจำปีงบประมาณ 2563 เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้อนุมัติแผนปฏิบัติการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของพีเอ็มยู ปีงบประมาณ 2563 เดือนมีนาคม สกสว. ได้รับงบประมาณจากกรมบัญชีกลางและดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOA) กับพีเอ็มยูและหน่วยงานรับทุน และในเดือนเมษายน 2563 สกสว. ได้เบิกจ่ายงบประมาณให้หน่วยรับทุนและปรับแผนและงบประมาณรองรับการแก้ปัญหาโควิด 19

ทั้งนี้ผลผลิตที่สำคัญจากการดำเนินการจัดสรรทุนผ่านกรอบแพลตฟอร์มยุทธศาสตร์ (Strategic Platform) ในระดับงบประมาณแผนงานสำคัญ (Flagship Program) ปี 2563 เดิมมี 27 แผนงาน 16 โปรแกรม และทาง กสว. ให้เพิ่มโปรแกรม 17 การแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ เพื่อรองรับวิกฤตโควิด-19 โดยโปรแกรมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงสุด คือ โปรแกรม 10 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 48.16 ของงบประมาณทั้งหมด ประกอบด้วยเรื่อง หลัก ๆ เช่น “บีชีจีโมเดล” การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ระบบฟาร์มอัจฉริยะ (สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง) และแผนงานการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ (Technology Localization) รองลงมา คือ โปรแกรม 16 การปฏิรูปอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น การปฏิรูประบบหาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ โปรแกรมที่ 5 การวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐาน เช่น เรื่องงานวิจัยแนวหน้า (Frontier Research) และ โปรแกรมที่ 13 นวัตกรรมเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน ตามลำดับ

ทั้งนี้ โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ปี 2563 ที่ดำเนินการภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท เกิดขึ้นเนื่องจากที่ประชุม เล็งเห็นว่าประเทศไทยควรมีชุดความรู้และศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านกำลังคน อุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อสนับสนุนการจัดการทั้งในภาวะวิกฤตและการฟื้นตัวหลังภาวะวิกฤต โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้าง 1) ชุดความรู้สาธารณะเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการเมื่อประสบภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ ที่ถูกปลูกฝังอยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน 2) ฐานข้อมูลและศูนย์ข้อมูลเพื่อการจัดการภาวะวิกฤตและหลังภาวะวิกฤต 3) นโยบายและนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติที่เป็นผลงานจาก ววน. อย่างน้อย 50 ชิ้น/เรื่อง ในช่วง 2 ปี (2563 – 2564) ที่ต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมไม่ขึ้นหิ้ง และ 4) ผลิตข้อมูลเพื่อการลงทุน ในการพัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการรับมือภาวะวิกฤต ทั้งในภาควิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคราชการ เพื่อผลลัพธ์สำคัญคือ ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสังคม ได้ร้อยละ10 ของความสูญเสียที่คาดการณ์ อย่างกรณีโควิด-19 ลดความสูญเสียประมาณ 19,000 ล้านบาท จากการมีการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์ ระบบติดตามการระบาดของโรค ให้ความรู้แก่ประชาชน และมีมาตรการทางการแพทย์ สาธารณสุข และฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมในระดับอุตสาหกรรมและระดับพื้นที่ และมุ่งเน้นให้ประเทศมีกลไกในการปรับตัวทั้งทางด้านความมั่นคงในด้านอาหาร สุขภาพ และสังคมเพื่อเกิดภาวะวิกฤต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ