PAP โชว์กำไร Q1/63 เพิ่ม 12.90% สวนพิษ COVID-19 กระทบอุตสาหกรรม

พฤหัส ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๒๕
โชว์ศักยภาพ PAP แม้สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมเหล็ก แต่สามารถฝ่าวิกฤติมาได้ ทำให้ปิด Q1/2563 มีกำไรสุทธิ 44.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.90% (QoQ) ด้วยกลยุทธ์บริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริหารลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี

บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) หรือ PAP ประกาศผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสแรก สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 (Q1/2563) โดยบริษัทมีรายได้จากการขายและบริการ เท่ากับ 1,952.40 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 490.68 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.08 เป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า รวมถึงผลกระทบด้านราคาเหล็กโลกที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับ Q1/2563 PAP มีกำไรสุทธิเท่ากับ 44.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 39.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.90 (QoQ) ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคิดเป็นร้อยละ 9.30 ของรายได้รวม เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 7.53 ของรายได้รวม เป็นผลอันเนื่องมาจากทิศทางราคาเหล็กโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดในช่วงปลายปี 2019 และการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น

นางเอื้อมพร ปัญญาใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ PAP กล่าวว่า "ภาพรวมในไตรมาส 1/63 ถือว่า รายได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัส COVID-19 ในช่วงเดือนมีนาคม จนนำไปสู่มาตรการ Lockdown ส่งผลให้ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างต้องปิดทำการในหลายพื้นที่ ประกอบกับการขนส่งสินค้าทำได้ยากลำบาก และเกิดการขาดแคลนแรงงานในหลายโครงการก่อสร้าง แต่เนื่องจากบริษัทได้ปรับกลยุทธ์การให้บริการเพื่อให้ตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างเท่าทัน ด้วยการวางแผนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าสำหรับงานระบบ และงานโครงการการขนาดใหญ่ ตลอดจนกลยุทธ์ในการบริหารลูกค้าโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ และลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ Q1/2563 บริษัทยังสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้”

สำหรับไตรมาส 2/63 บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจของ PAP รวมทั้งบริษัทได้เริ่มใช้การตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและรองรับกับแนวโน้มพฤติกรรมตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนมีแผนในการจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสนับสนุนคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เพื่อเตรียมการรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแต่งตั้ง นางสาวธิติมา วัฒนศักดากุล ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อรับผิดชอบในส่วนของกลยุทธ์การจัดซื้อวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมเหล็ก พร้อมกับแต่งตั้ง นายฐิตกร อุษยาพร ผู้บริหารมากความสามารถแห่งวงการเทคโนโลยี เข้ามาเป็น ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2563

ทั้งนี้ นายฐิตกร ถือเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์การทำงานในแวดวงเทคโนโลยีและสารสนเทศมานานกว่า 30 ปี ผ่านการร่วมงานกับหลากหลายบริษัทชั้นนำ อาทิ ออราเคิล (ประเทศไทย), ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), ดีแทค และ เอ็ม พิคเจอร์ ในเครือเมเจอร์ เป็นต้น โดยล่าสุดก่อนมาร่วมงานกับ PAP นายฐิตกร ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVOA

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ