แสงช่วงยูวีซี ยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาในอากาศและบนพื้นผิว

จันทร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๒๒
อ.พญ.ไอณภัค บุญทวียุวัฒน์และศ.ดร.นพ ประวิตร อัศวานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ไวรัสโคโรนา ประกอบด้วย อาร์เอ็นเอสายเดียว คลุมด้วยกรอบสองชั้น มีความทนอยู่บนพื้นผิว และล่องลอยในอากาศได้ ขึ้นอยู่กับความชื้น อุณหภูมิและลักษณะของพื้นผิว โดยอยู่บนพื้นผิวพลาสติก หรือสแตนเลสอาจอยู่ได้นานกว่าพื้นผิวอื่น1 การสัมผัสละอองฝอยที่มีไวรัสหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนไวรัสเป็นทางติดต่อหลักจากผู้ป่วย การกำจัดเชื้อไวรัสที่ล่องลอยในอากาศและบนพื้นผิว จึงเป็นการป้องกันการติดต่อเชื้อไวรัสที่น่าสนใจ

การฆ่าเชื้อด้วยแสงช่วงยูวีซี (ซึ่งอยู่ในช่วงคลื่น 200-290 นาโนเมตร รูปภาพที่ 1) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อขึ้นกับ ปริมาณแสงที่ใช้ ความชื้นของอากาศ สภาพพื้นผิว ชนิดของเชื้อไวรัส หลังจากเชื้อได้รับแสงยูวีซี โดยเฉพาะความคลื่นที่ 260 นาโนเมตร จะส่งผลให้เชื้อหมดความสามารถในการติดต่อและเจริญเติบโต หรือก่อโรคได้อีก

ความสามารถในการยับยั้งเชื้อไวรัสบนพื้นผิว เมื่อทดสอบบนพื้นผิวที่มีความสามารถในการเก็บกักเชื้อไวรัสได้มากที่สุด ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม แสงยูวีซีที่ความยาวคลื่นสูงสุด 260 นาโนเมตรสามารถยังยั้งไวรัสที่ประกอบด้วย อาร์เอ็นเอสายเดียวเช่นโคโรนาไวรัสได้ดีกว่า เชื้อไวรัสชนิดอื่น และยั้บยั้งจำนวนเชื้อได้มากชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ ได้ถึง 99% จากจำนวนเชื้อไวรัสตั้งต้นก่อนการฉายแสงโดยใช้ขนาดแสงยูวีซี เพียง 1-3 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร2 นั่นหมายความว่าหากใช้หลอดไฟยูวีซีอาจเป็นฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดแอลอีดี ที่มีความสามารถในการยังยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาบนพื้นผิว โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยหลอดยูวีซี จำเป็นต้องให้ความเข้มอย่างน้อย10 W/cm2 หากเป็นเชื้อไวรัสอื่นๆ จำเป็นต้องได้ใช้ขนาดของแสงยูวีซีที่แตกต่างกันไปดังตารางที่ 1 โดยความชื้นมีประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อลดลง

การยับยั้งเชื้อไวรัสในอากาศ

แสงยูวีซีสามารถยั้บยั้งโคโรน่าไวรัสได้ง่าย โดยพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การรอดของเชื้อเพียง 12 เปอร์เซ็นต์หลังจากได้รับแสงยูวีซีในขนาดที่ต่ำกว่าขนาดที่ใช้ในเชื้อไวรัสอื่นดังตารางที่ 2

และผลของแสงยูวีซีต่อคน สามารถแยกเป็น

ผิวหนัง ดีเอ็นเอที่ผิวหนังคนเรา จะดูดซับช่วงคลื่นยูวีซีได้ด้วยโดยอาจแสดงให้เห็นเป็นอาการแดง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งอาจจะนำไปสู่มะเร็งผิวหนัง อาจเริ่มก่อนที่เห็นผิวหนังเป็นสีแดงก็ได้ โดยปริมาณของยูวีซีที่ความยาวคลื่นที่สูงสุด 254 นาโนเมตร ที่ทำให้ผิวหนังมีปฏิกิริยาเป็นสีแดง อยู่ที่ 10 mJ/cm2 ในคนผิวขาว4 ดวงตา แสงยูวีซีสามารถทำให้กระจกตา เยื่อบุตาขาวอักเสบ เกิดการระคายเคือง แสบร้อนได้หลังจากการได้รับแสงยูวีซีในระยะสั้น

การใช้แสงยูวีซีในการยับยั้งเชื้อโรคอย่างปลอดภัย ป้องกันผิวหนังและตาด้วยเสื้อผ้าที่มีใยผ้าหนา และแว่นตาอย่างน้อยที่เป็นประจกใส หรือหลีกเลี่ยงการรับแสงยูวีซีโดยตรง โดยการเปิดใช้งานตามเวลาที่ไม่มีผู้คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ