ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

จันทร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๑๒
หมอหัวใจฝากมาบอก!! ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งคนไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน

และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตการเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13%และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี

ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ20%เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10%หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10%

เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก

มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้

คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคร่วมในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในโรคเดิมของผู้ป่วยเอง ดังนี้

โรคหัวใจพบในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% โดยแบ่งเป็น

- เส้นเลือดหัวใจตีบ ประมาณ 10%

- หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ประมาณ 5%ความดันโลหิตสูง พบเป็นโรคร่วมได้ ถึง 20-30%เบาหวาน พบเป็นโรคร่วมได้ 10-15%เส้นเลือดสมองตีบ พบเป็นโรคร่วมได้ 5%

ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเคร่งครัดมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า ?? ควรปฏิบัติตัวตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก

หากมีอาการไข้ หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรงและต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้องรับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ยาบางตัวใช้รักษา COVID-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19

โดยคุณหมอจะเน้นการรักษาโรคเดิมให้ได้ตามเป้าหมาย อย่างเคร่งครัด มีความสำคัญมากเนื่องจากหากเจ็บป่วยด้วย COVID-19 แล้วอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางหัวใจ กับผู้ป่วยโรคหัวใจ, โรคความดัน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โดยอาจเพิ่มระยะเวลานอนรพ., เพิ่มอัตราการเสียชีวิต, การนอนICU

ดังนั้น การมาพบแพทย์ตามนัด จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อติดตามการรักษา การทานยาและปฏิบัติตามแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัดและสามารถควบคุมโรคได้ดีโดยทาง รพ.รามคำแหงมีมาตราการรักษาความปลอดภัยด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระดับสูงสุดแล้ว เพื่อความปลอดภัยของทุกคน มาพบแพทย์ตามนัดได้สบายใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ