ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น สำนักการแพทย์ กทม. ยังได้จัดเก็บข้อมูลทางสถิติ นำมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนควบคุมป้องกันโรค จัดทำแนวทางการควบคุมและรักษาไข้หวัดใหญ่แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ชัดเจน รวมถึงตรวจคัดกรองแยกประเภทกลุ่มโรคตามอาการ นำไปสู่การตรวจค้นพบโรคและวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนเตรียมพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ เช่น อ่างล้างมือ น้ำ สบู่หรือเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย และทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ขณะเดียวกันได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีน จำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ธารัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง(รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และโรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร) โดยจะได้รับการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนผ่านระบบ line @ucbkk สร้างสุข ทั้งนี้ มีกำหนดเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 3 สายพันธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป สามารถไปรับบริการได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย ทั้ง 68 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัด กทม. และโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ม.ค. ๒๕๖๘ ม.ธุรกิจฯ ตั้งศูนย์พักคอยรองรับผู้ป่วยโควิด-19
- ม.ค. ๒๕๖๘ โอสถสภามอบเครื่องดื่มสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้กักตัวในแคมป์ก่อสร้าง
- ม.ค. ๒๕๖๘ กทม.บริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อกว่า 16 ตัน/วัน-กำชับ จนท.ใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติงาน