ม.มหิดล พร้อมรับ New Normal ใช้ชีวิตด้วยสติ หลังช่วงวิกฤต Covid-19

ศุกร์ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๗
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับ New Normal หลังช่วงวิกฤต Covid-19 เตรียมเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน ป้องกันผู้ป่วยตามหลักการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (Universal Precautions)

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ศูนย์การแพทย์ฯ ได้มีบทบาทในการจัดทำวีดิทัศน์ให้กำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

และเนื่องจากโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) และ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีผู้ป่วยที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดทำเสียงให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเพื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Covid-19 ใน 3 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน และได้ส่งมอบให้กับทุกโรงพยาบาลในประเทศไทยอีกด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำวีดิทัศน์ให้คำแนะนำในการล้างและอบรถพยาบาล ตลอดจนจัดทำวีดิทัศน์ให้คำแนะนำสำหรับรถแท็กซี่ในการดูแลตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยจาก Covid-19 ซึ่งได้มอบให้ กรมการขนส่งทางบก เพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ต่อไปแล้ว

รวมทั้งได้จัดทำวีดิทัศน์แนะนำการประดิษฐ์หน้ากากผ้าเพื่อทดแทนหน้ากากอนามัยที่กำลังขาดแคลนสำหรับประชาชนทั่วไปเผยแพร่ทาง YouTube อีกด้วย

แม้ปัจจุบันวิกฤต Covid-19 จะบรรเทาเบาบางลง โดยพบจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงลดลง ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพักรักษาตัวอยู่ที่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม จะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ดี ทางศูนย์การแพทย์ฯ ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านบุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และสถานที่

ซึ่งแม้ที่ผ่านมา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม จะต้องปิดการให้บริการบางส่วนตามมาตรการการรักษาระยะห่างทางสังคม แต่ก็ได้มีการอำนวยความสะดวกส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดยา พร้อมทั้งมีการจัดแพทย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์

สิ่งที่ทางศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องเตรียมต่อไปในอนาคต ก็คือ การป้องกันผู้ป่วยตามหลักการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (Universal Precautions) ที่มองว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นผู้ติดเชื้อ ดังนั้นจึงต้องทำงานกันด้วยสติให้มากที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อไหร่ก็ตามที่บุคลากรติดเชื้อ จะได้รับคำสั่งให้หยุดงานเพื่อรอดูอาการ 14 วัน

"ด้วยประสบการณ์ในการดูแลตัวเอง และดูแลคนรอบข้างตลอดช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมา เมื่อต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal หลังจากนั้นเป็นต้นไป เชื่อว่าการดำเนินชีวิตของทุกคนจะเปลี่ยนไปในแง่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม" รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ