ในการนี้ นายศุภชัย สมเจริญ กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้สังคมไทยตระหนักถึงการพัฒนาคน บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่มีการเข้าสู่ข้อมูลมากขึ้น ซึ่งหลายคนไม่ปฏิเสธที่จะรับเอาความรู้ แต่ต้องไม่ลืมรากเหง้าความเป็นตัวเอง เพราะบ้านเมืองเจริญได้จากบรรพบุรุษที่สร้างเอาไว้ ทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างคนดี โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นคนสำคัญในการสร้างชาติ การปฏิรูปและปลูกฝังสิ่งที่ดีงามซึ่งต้องใช้เวลา คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม จึงเห็นความสำคัญในการเปิดเสวนารับฟังจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนคนไทยในแต่ละช่วงวัยในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างคนดีคนเก่งในสังคมไทยให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ”
ดร. ศิรินา ปวโรฬารวิทยา กล่าวว่า “คุณธรรมและจริยธรรม คือเอกลักษณ์ของคนไทย ที่ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ หน้าที่ของวุฒิสภาที่สำคัญ คือ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คณะกรรมาธิการทุกคณะมีหน้าที่ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน คือ ด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและส่งเสริมสร้างศักยภาพทัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ด้านการสร้าการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐคณะกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีหน้าที่สำคัญ คือ การสร้างคนดีที่มีคุณภาพให้กับสังคม จากการศึกษาและการประชุมในหลายครั้ง พบว่าการทำความดีเกิดขึ้นได้เมื่อมีความรัก คือ มีความรักประเทศ รักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ หากปราศจากความรัก ความดีจะไม่เกิดขึ้น สำหรับคุณธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เกิดการทำความดี ธรรมะที่ทำความดีได้ต้องเกิดจากความรัก เกิดจากจิตใจของคนทุกคนที่อยากทำด้วยความเต็มใจ เป็นจิตใจต้องการให้คุณธรรม 5 ประการ ที่คนไทยทุกคนต้องมี ประกอบด้วย กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง จิตอาสา อนึ่ง บุคคลในแต่ละช่วงวัยมีแนวคิดเรื่องคุณธรรมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและการปลูกฝังของบุคคลในแต่ละวัย ซึ่งในการแบ่งเจเรอเนชั่นเป็น 8 กลุ่ม ดังนั้น ในการเสวนาครั้งนี้ จึงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรม 5 ประการ คือ กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง จิตอาสา ของบุคคล 6 เจเรอเนชั่น คือ Silent Gen (อายุ 75-95 ปี), Gen Baby boomer (อายุ 56-74 ปี), Gen X (อายุ 41-53 ปี), Gen Y (อายุ 23-40 ปี), Gen Z (อายุ 10-22 ปี) และ Gen Alpha (อายุต่ำกว่า 10 ปี) ว่าจะมีการสร้างและปฺฏิบัติคุณธรรมดังกล่าวได้อย่างไร ซึ่งความดีเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เป็นคนเก่งได้หรือไม่ ประเทศไทย ต้องการให้คนไทยมีความดีก่อนความเก่ง ถ้ามีพื้นฐานเป็นคนดี สิ่งที่ทำเป็นจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่หากมีความเก่งแต่ไม่ดี อาจจะส่งผลเสียต่อประเทศชาติได้ เราควรทำให้คนเป็นคนดีก่อน การพัฒนาไปสู่ความเก่ง จะทำให้ประเทศไทยมีทั้งคนดีและคนเก่งทั่วประเทศ คือ ทุกคนมีคุณภาพ สามารถเลี้ยงชีพ สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศ ในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่านมากว่าถึงข้อมูลในแต่กลุ่มช่วงวัยเพื่อศึกษาหาแนวทางสร้างเครื่องมือ รวมถึงรูปแบบการสื่อสารด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม แก่ประชากรไทยในแต่ละช่วงวัยที่มีแนวคิด ทัศนคติ มุมมอง และค่านิยมที่แตกต่างกัน นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน”
ซึ่งหลังจากการเสวนา คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาความคืบหน้าการดำเนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคคลในแต่ละช่วงวัยของสังคมไทย จำนวน 5 แผนงาน คือ แผนงานการสร้างองค์กรคนดีเพื่อเป็นองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรมและจริยธรรม แผนการสร้างโอกาสให้คนดีเป็นคนเก่ง ซึ่งจะมีการมุ่งสร้างโอกาสทางอาชีพ การพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ รวมถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้เพื่อเป็นรากฐานของคนใน GEN – baby boom เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของบุคคลใน GEN – X แผนงานการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับกลุ่มคนใน GEN – Y และแผนงานการพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับกลุ่มคนใน GEN – Z ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรมจะมีการจัดประชุมเพื่อสรุปการดำเนินงานและติดตามผลต่อไป