สกพอ. ร่วม ฟีโบ้ ผลิตหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” สนับสนุนบุคลากรการแพทย์ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ยกระดับสาธารณสุขในอีอีซี

อังคาร ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๐๘
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ฟีโบ้) ดำเนินการผลิต และเตรียมส่งมอบชุดระบบหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” เพื่อ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด- 19 ภายในโรงพยาบาลเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมทั้งเพื่อเป็นการยกระดับด้านสาธารณสุขให้เกิดประสิทธิภาพ และเข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วน

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สกพอ. เปิดเผยว่า สำหรับโครงการผลิตหุ่นยนต์ สนับสนุนบุคคลากรทางการแพทย์นั้น ทาง สกพอ. มอบทุนจำนวน 8 ล้านบาท ให้แก่ฟีโบ้ เพื่อดำเนินการจัดสร้างชุดระบบหุ่นยนต์ มดบริรักษ์ จำนวน 4 ชุด มอบให้กับ 4 โรงพยาบาลในพื้นที่อีอีซี ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลบางละมุง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลระยอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการผลิต และคาดว่าจะสามารถส่งมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ ประมาณเดือนกรกฎาคม 2563

นอกจากนี้ ในอนาคต สกพอ. และฟีโบ้ ได้เตรียมวางแผนนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมความสามารถของชุดหุ่นยนต์ โดยพัฒนาแพลตฟอร์มบนคลาวด์ ทำการต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ พัฒนาระบบ Teleconference ระบบบันทึกภาพ ควบคุมบริหารจัดการหุ่นยนต์จากส่วนกลางบนคลาวน์ พัฒนาระบบการควบคุมอุปกรณ์ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ IoT กับอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ เพื่อใช้ในการบันทึกสัญญาณชีพ และจัดทำระบบวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลหรือ AI ซึ่งจะต่อโดยตรงกับ Genomics Platform หรือระบบจัดเก็บพันธุกรรม ในพื้นที่อีอีซีด้วย

สำหรับชุดระบบหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์โควิด- 19 ควบคุมและพัฒนาระบบโดย ฟีโบ้ ร่วมกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ใน 1 ชุดระบบฯ ประกอบด้วยหุ่นยนต์ 3 รูปแบบ ได้แก่

(1) SOFA หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลางให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมาย สามารถแสดงข้อมูลการรักษาหรือผลการตรวจที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของโรงพยาบาล และสามารถ video call สนทนาโต้ตอบกับผู้ป่วยได้แบบ real time

(2) CARVER เป็น Automated Guided Vehicle (AGV) ทำหน้าที่ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ สำหรับผู้ป่วยในหอผู้ป่วย พร้อมฟังก์ชั่นฟอกอากาศและฆ่าเชื้อไวรัสตลอดการปฏิบัติงานผ่านอุปกรณ์ Hydroxyl Generator และ

(3) Service Robot หุ่นยนต์บริการเฉพาะจุด สามารถเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติโดยการควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลาง ส่งยาและอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ และผู้ป่วยสามารถพูดกับหุ่นยนต์เพื่อเรียกแพทย์หรือพยาบาลได้ผ่าน video call

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version