ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ “ไทยพาณิชย์รวมใจไทยให้โลหิตฝ่าวิกฤติ COVID-19” วันที่ 28-29 พ.ค.นี้

อังคาร ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๒๕
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นเหตุให้มีผู้บริจาคโลหิตลดลงจำนวนมาก ในขณะที่ผู้ป่วยยังต้องการโลหิตทุกกรุ๊ปในการรักษาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ “ไทยพาณิชย์รวมใจไทยให้โลหิตฝ่าวิกฤติ COVID-19” ในวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00-15.00 น. ที่รถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ จอดบริเวณลานต้นโพธิ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ (รัชโยธิน) เพื่อเติมเต็มปริมาณโลหิตให้มีเพียงพอต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย ร่วมบริจาคโลหิตและส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยให้กับผู้ป่วย อย่ารอให้ถึงวันที่ผู้ป่วยไม่มีโลหิตในการรักษา

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบริจาคโลหิต ควรนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไม่อยู่ในระหว่างทานยาปฏิชีวนะ เพื่อให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ และควรดื่มน้ำ 3-4 แก้วก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที การบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน จะทำให้ผู้บริจาคมีสุขภาพที่ดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ