โดยกองทุนรวมเพื่อการออมทั้ง 9 กองทุนข้างต้น เป็นการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน (Class) จากกองทุนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบันของ บลจ.ภัทร ครอบคลุมทุกประเภททรัพย์สินประกอบด้วย
กองทุนรวมตลาดเงิน (ความเสี่ยงต่ำ) : ได้แก่ กองทุน PHATRA MP-SSF เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐไทยระยะสั้นและเงินฝากกองทุนตราสารหนี้ (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) : ได้แก่ กองทุน PHATRA ACT FIXED-SSF เน้นกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและตราสารหนี้ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก (Active Management)กองทุนผสม (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) : บลจ.ภัทร มีกองทุนผสมที่กระจายการลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตลอดจนทรัพย์สินทางเลือก เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ และน้ำมัน โดยมีให้เลือก 3 กองทุน ซึ่งแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงโดยลงทุนในทรัพย์สินประเภทต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไล่เรียงตามระดับความเสี่ยง ดังนี้ (1) กองทุน PHATRA SG-AA Light-SSF (2) กองทุน PHATRA SG-AA-SSF และ(3) กองทุน PHATRA SG-AA Extra-SSFกองทุนตราสารทุน (ความเสี่ยงสูง) : สำหรับกองทุนตราสารทุนในประเทศ มีให้เลือก 2 กองทุน ได้แก่ (1)กองทุน PHATRA ACT EQ-SSF ลงทุนในตราสารทุนที่มีปัจจัยพื้นดี และมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง โดยมีกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) และ (2) กองทุน PHATRA SET50 ESG-SSF ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยกองทุนมีเป้าหมายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 โดยจะคัดเลือกหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกำหนด เช่น หลักเกณฑ์ด้านปัจจัยพื้นฐาน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
นอกจากนี้ ยังมีกองทุนตราสารทุนต่างประเทศ ได้แก่ กองทุน PHATRA PGE-SSF ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก คือ iShares MSCI ACWI ETF ที่เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สอดคล้องกับ
ผลการดำเนินงานของดัชนี MSCI ACWIกองทุนรวมหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ความเสี่ยงสูงมาก) : ได้แก่ กองทุน PHATRA PROP-D-SSF ลงทุนในหลักทรัพย์/ตราสารที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector) ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก (Active Management)
“สำหรับภาวะตลาดการลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในช่วงนี้มีการฟื้นตัวดีที่ขึ้น เนื่องจาก หลายประเทศเริ่มควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้มากขึ้นและทยอยเปิดดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บลจ.ภัทร มองว่าตลาดการลงทุนทั่วโลกในช่วงที่เหลือของปียังคงมีความผันผวนสูง เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคคาดว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าจะมียารักษาหรือวัคซีนไวรัสโควิด-19 ทำให้ยังคงมีความเสี่ยงที่ธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19 อาจขาดสภาพคล่องและผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มาตรการทางการเงินและการคลังที่รัฐบาลและธนาคารกลางของหลายประเทศประกาศใช้ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วยให้มีสภาพคล่องเพิ่มในระบบจำนวนมหาศาล นับเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจและตลาดการลงทุนโดยรวม
การลงทุนในกองทุนรวม SSF จะช่วยสร้างวินัยการลงทุนในระยะยาวให้กับผู้ลงทุน ซึ่งกำหนดการถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว โดย บลจ. ภัทร มองว่าการกระจายการลงทุนในทรัพย์สินที่หลากหลาย เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนรับมือกับความผันผวนได้ดีขึ้น จึงได้นำเสนอหน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม 9 กองทุน ที่ครอบคลุมทุกประเภททรัพย์สิน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกผสมผสานจัดพอร์ตการลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และตอบสนองต่อเป้าหมายการลงทุนระยะยาว” คุณยุทธพลกล่าว
สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจกองทุน SSF สามารถขอหนังสือชี้ชวน คู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินทุกสาขา หรือ KKP Contact Center โทร. 02 165 5555 และบริษัทหลักทรัพย์ภัทร โทร. 02 305 9559 หรือ www.phatraasset.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้งตามหนังสือชี้ชวน
คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม รวมถึงกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้บางกองทุนมีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันอาจเกิดจากนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน