ทีเอ็มบีและธนชาต ชวนคนไทยตั้งรับเชิงรุก ผนึกกำลังองค์กรใหญ่ ช่วยเหลือ SMEs ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ร่วมกัน

พุธ ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๒๕
ทีเอ็มบีและธนชาต ชวนคนไทย “ตั้งรับเชิงรุก” ผนึกกำลังองค์กรใหญ่ รวมพลังสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs และคนไทยให้ก้าวผ่านสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน รุกช่วยพยุง 3 อุตสาหกรรมหลัก “ท่องเที่ยว-ยานยนต์-โรงพยาบาล” พร้อมเปิดตัวอีกหลายโครงการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มให้อยู่รอดไปด้วยกันในยุค New Normal มุ่งสานต่อเป้าหมายการสร้าง Financial Well- being ให้คนไทยทั้งประเทศ

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนไปทั่วโลก ซึ่งทีเอ็มบีและธนชาตในฐานะผู้นำแนวคิด Make REAL Change ที่ต้องการสร้างนิยามใหม่ของวงการธนาคาร เชื่อมั่นว่าท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้การรวมพลังช่วยเหลือและร่วมมือกัน จากทุกภาคส่วนจะทำให้ทุกคนชนะวิกฤติในครั้งนี้ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงผู้บริโภคตลอดทั้งซัพพลายเชนล้วนเกี่ยวข้องและต้องพึ่งพากันทั้งทางด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนทั้งประเทศกว่า 3 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานราว 12 ล้านคน การอยู่รอดของ SMEs มีผลกระทบโดยตรงต่อการมีงานทำและรายได้ครัวเรือนของประเทศ ดังนั้นการช่วยเหลือแบบส่งต่อกันตลอดทั้งห่วงโซ่จะเป็นการช่วยทั้งระบบที่ ได้ผลอย่างรวดเร็วและยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งอุตสาหกรรม ส่งผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในเร็ววัน โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนบริษัทคู่ค้าและพันธมิตรทางการค้าผ่านโครงการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ได้แก่

1.มาตรการช่วยเหลือภายใต้โปรแกรมซัพพลายเชนผ่านองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งธนาคารพร้อมสนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือโดยตรงแก่พันธมิตรองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งกว่าให้ไปช่วยเหลือซัพพลายเออร์และคู่ค้า SMEs รายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินให้แก่ซัพพลายเออร์ได้เร็วขึ้นหรือการยืดเวลาการรับเงินจากคู่ค้า เช่น ตัวแทนจำหน่ายสินค้า เพิ่มขึ้นอีก 30 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ซัพพลายเออร์และคู่ค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำเงินทุนที่มีอยู่ไปใช้ในกิจกรรมจำเป็นด้านอื่นๆ และรักษาการจ้างงาน นอกจากนี้ธนาคารยังมีการให้เงินทุนหมุนเวียน (Soft Loan) แก่คู่ค้า SMEs ของพันธมิตรองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารผ่านโปรแกรมซัพพลายเชน

“โดยทีเอ็มบีและธนชาต ได้เริ่มจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ของธนาคารเร็วขึ้นจาก 30-60 วัน เป็น 15 วัน และได้ร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กลุ่มมิตรผล กลุ่มปตท. และเอสซีจี เพื่อให้ความช่วยเหลือคู่ค้า SMEs ในรูปแบบที่ต่างกันไปตามความเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ช่วยคู่ค้า SMEs ขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในการพักชำระหนี้ กว่า 1,000 ราย พร้อมเตรียมให้เงินทุนหมุนเวียนกับพันธมิตรของเราและให้คู่ค้า SMEs อีกกว่า 100 ราย คิดเป็นมูลค่า 500 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่คู่ค้า SMEs ต่อไป ทีเอ็มบีและธนชาตจึงอยากขอเชิญชวนองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงพันธมิตรของธนาคาร มาร่วมกันให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้”

2.มาตรการช่วยเหลือลูกค้า SMEs โดยตรง ได้แก่ โปรแกรมการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน การให้เงินทุนหมุนเวียน (Soft Loan) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและรักษาการจ้างงาน การมอบโปรโมชันพิเศษ ฟรี! ประกันโควิดให้แก่พนักงานเมื่อผู้ประกอบการ SMEs สมัครบริการ Payroll จ่ายเงินเดือนพนักงานออนไลน์ และการจัด SME Knowledge Sharing Webcast ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาลูกค้า SMEs ของธนาคาร แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ตั้งรับเชิงรุก ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจภายใต้ทิศทางเศรษฐกิจใหม่

3.มาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคล ธนาคารมีการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดวิกฤติ เช่น มาตรการตั้งหลักช่วยเหลือลูกค้าพักชำระหนี้ การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เพื่อสอดรับกับวิกฤติ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุให้กับลูกค้าบัญชี All Free ที่มีกว่า 3 ล้านราย โปรโมชันบัตรเครดิตที่มุ่งเน้นโปรโมชันให้ลูกค้าประหยัดได้มากกว่ากับการใช้จ่ายออนไลน์ในช่วงที่ต้องอยู่บ้าน การยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าสำหรับกองทุนที่ได้คัดสรรมาแล้วของ บลจ.ทหารไทย อีสต์สปริง และบลจ.ธนชาต เพื่อช่วยลูกค้าธนาคารกว่า 150,000 ราย ที่ต้องการลงทุนเฉลี่ยต้นทุนหรือมองหาผลตอบแทนระยะยาว

นอกจากนี้ ธนาคารยังมุ่งให้ความช่วยเหลือ 3 อุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์ และโรงพยาบาล รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลาย โดยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุด เพราะมีผู้ประกอบการโรงแรมได้รับความเดือดร้อนถึง 7,500 ราย คิดเป็นการสูญเสียรายได้ 2.8 หมื่นล้านบาท ธนาคารได้เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุน โดยมีการปรับเปลี่ยนงบการตลาดกว่า 100 ล้านบาท เพื่อจัดทำโปรโมชันและสิทธิพิเศษในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร หวังช่วยกระตุ้นรายได้และฟื้นฟูเศรษฐกิจในกลุ่มนี้ ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ธนาคารได้ช่วยพักชำระหนี้ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ กว่า 500 ราย เป็นมูลค่ารวม 4,200 ล้านบาท และได้ดูแลช่วยเหลือเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ (Soft Loan) ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ทั้งมือหนึ่งและมือสองของธนาคาร ประมาณ 100 ราย เป็นวงเงินรวมประมาณ 500 ล้านบาท และในกลุ่มโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการตั้งรับกับวิกฤติ COVID-19 ได้ทำงานอย่างหนักและเสี่ยงอันตรายช่วยเหลือคนไข้มาตลอด จนอาจไม่ได้มีเวลาดูแลและวางแผนเรื่องการเงินของตัวเอง ธนาคารจึงได้ออกโปรแกรมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษเพื่อช่วยเหลือบุคคลากร ทางการแพทย์จากกว่า 30 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ธนาคารยังได้จัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมที่ยังพอมีกำลังร่วมส่งต่อความช่วยเหลือด้วยการบริจาคผ่านแพลตฟอร์มระดมทุน punboon.org ให้กลุ่มโรงพยาบาลที่ต้องการทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 และยังมีกิจกรรม CSR จากโครงการไฟ-ฟ้า ทีเอ็มบีและธนชาตที่ได้อาสาสมัครจากเด็กๆ ในชุมชน และบุคคลทั่วไปกว่า 200 คน ร่วมผลิตหน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) จำนวน 8,000 ชิ้น ส่งมอบให้โรงพยาบาลที่ขาดแคลน ตอกย้ำความเชื่อมั่นเรื่องการช่วยเหลือกันทั้งระบบเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและสังคม

“ทีเอ็มบีและธนชาตจึงขอเชิญชวนคนไทยตั้งรับเชิงรุก ปรับมุมมอง เปลี่ยนพฤติกรรมในยุค New Normal เพื่อจัดการชีวิตและธุรกิจแบบเชิงรุก โดยเฉพาะองค์กรที่ยังพอมีกำลัง เช่น องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มาร่วมกันช่วยเหลือกลุ่ม SMEs เพราะการช่วยเหลือส่งต่อให้กันทั้งซัพพลายเชนจะเกิดผลรวดเร็วและยั่งยืน ช่วยพลิกวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นกลับมาได้ในเร็ววัน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีและยั่งยืนให้กับธุรกิจไทยและคนไทยทั้งประเทศ เพราะธนาคารเชื่อว่านั่นคือรากฐานที่ช่วยให้คนไทยทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้อย่างแท้จริง” นายปิติ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version