วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับจำหน่ายได้ก่อนฤดูน้ำหลากควรคัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมหรือน้อยกว่าปกติ เพื่อลดความสูญเสียจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพที่ดี และให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น โปรไบโอติก วิตามินซี วิตามินรวม เป็นต้นวางแผนจัดการคุณภาพน้ำที่ดี ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำหากสภาพอากาศปิด มีฝนตก ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างฉับพลัน เกษตรกรสามารถป้องกันการตายของสัตว์น้ำได้ โดยการเปิดเครื่องตีน้ำหรือสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ ส่วนกรณีที่ฝนตกหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเฮช, pH) ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีค่าลดลง ควรโรยปูนขาวหรือปูนมาร์ล เพื่อควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง และเติมเกลือแกง เพื่อลดความเครียดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อนอกจากนี้ ควรควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะ หรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำระหว่างเลี้ยง ควรทำความสะอาดพื้นบ่อ กรณีที่เลี้ยงในกระชังให้ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ เศษอาหาร มูลของเสีย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปรสิตรวมถึงเชื้อโรคต่างๆปรับปรุงบ่อ, เสริมคันบ่อหรือทำผนังบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆ มาพร้อมจัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไปควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังหรือเผา
ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยไว้ในบริเวณบ่อหรือกระชังที่เลี้ยง เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วกรณีเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อย และเกษตรกรควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่
โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เหาปลา และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ อาทิ ว่ายน้ำผิดปกติ หายใจถี่ มีจุดแดงตามผิวลำตัว เป็นต้น สามารถรักษาได้โดยใช้ด่างทับทิม
1-2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน แต่หากเป็นการรักษาปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชัง ให้ใช้ผ้าใบหุ้มกระชังก่อนสาดสารเคมี นอกจากนี้ ยังสามารถแช่ขวดหรือถุงด่างทับทิม หรือถุงเกลือ ไว้ในกระชังเป็นจุด ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณปรสิตที่อยู่ในกระชังและลดความเครียดให้ปลาได้ด้วยโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่พบในปลา เช่น วิบริโอ สเตรปโตคอคคัส แอโรโมแนส ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียมักจะฉวยโอกาสเข้าไปทำอันตรายปลาเมื่อปลาอ่อนแอ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางกระแสเลือด โดยปลาที่ป่วยจะมีอาการซึม ไม่กินอาหาร มีแผลเลือดออกตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ มีตุ่มฝีที่บริเวณใต้คางและผิวลำตัว ตาขุ่น ตัวด่าง ทยอยตาย กรณีกุ้งให้สังเกตสีตับ เหงือก ผิวตัว ทั้งนี้ หากพบสัตว์น้ำมีอาการดังกล่าว ควรส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดแบคทีเรีย และใช้ยาต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้นๆโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบในปลา เช่น เคเฮชวี และทีไอแอลวี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไวรัส
อีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือ ไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันโดยให้ความสำคัญกับการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและลดช่องทางในการรับเชื้อ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมฯ ได้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อ
เฝ้าระวัง ป้องกัน และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยด้านการประมง ประจำปี 2563 ซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยการให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัย และ 3. การให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยในปีนี้ ได้เน้นย้ำการเฝ้าระวังการเลี้ยงจระเข้อย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ โดยให้มีการตรวจสอบสถานที่เลี้ยงให้มีความแข็งแรง ตรวจสอบจำนวนจระเข้ เพื่อป้องกันการหลุดรอดออกจากฟาร์มเลี้ยงในช่วงที่เกิดอุทกภัย
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้ายว่า เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจาก ทางราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด /สัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
ทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2562-0600-15 (C)