สำหรับคนไข้บางรายที่มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ปอดอักเสบหรือปอดบวม หรือถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป หรือเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี หรือ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะที่ 2 – 3 หรือเด็กที่รับประทานยาแอสไพลินมาเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งผู้ใหญ่ที่รับประทานยากดภูมิมาเป็นระยะเวลานาน การรักษาไข้หวัดใหญ่นั้นส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการเนื่องจากเป็นการติดเชื้อไวรัส แต่มีผู้ป่วยบางรายที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านไวรัสก้สามารถให้ยาต้านไวรัสได้โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง หรือกลุ่มที่อาการค่อนข้างรุนแรง สำหรับการป้องกันที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรครุนแรงหรือเป็นอันตราย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการให้วัคซีนฟรีสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ร่วมกับการดูแลสุขภาพของตนเอง เช่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: มูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ มอบห้องสันทนาการเด็กแห่งที่ 36
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ซีพี ออลล์ มอบเงินสนันสนุนศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ รพ.ชลประทาน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ซีพี ออลล์ มอบเงินสนันสนุนศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ รพ.ชลประทาน