มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์รองรับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ และรับมอบ Hapybot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะ

ศุกร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๕๒
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) แถลงข่าว “ความสำคัญของเทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ และนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการสนับสนุนการใช้ Robot ในสถานการณ์ปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะกรรมการวิชาการและเทคนิคเพื่อรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และ นายพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ในโอกาสนี้ ได้มีพิธีรับมอบหุ่นยนต์ Hapybot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ จำนวน 3 ตัว เพื่อนำไปใช้งานจริงภายในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล 3 แห่ง คือ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมหิดล มียุทธศาสตร์สำคัญหลายประการที่จะช่วยขับเคลื่อนและร่วมพัฒนาประเทศ พร้อมที่จะนำ องค์ความรู้ต่าง ๆ ช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อเกิดปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในการต่อยอดผลงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีงานล้นมือ ต้องปฏิบัติหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์มีส่วนช่วยบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมาก จึงถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ เพื่อช่วยลดการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ สามารถใช้ในการติดตามคนไข้บนหอผู้ป่วย ใช้ในการดูแลและการพยาบาล ใช้ขนส่งอาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ยา สิ่งเหล่านี้ คือ เหตุผลความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนของการที่ต้องนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงานมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยแบ่งเบาภารกิจของบุคลากร

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์หลายตัว โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพสูง แต่เนื่องจาก มหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลในสังกัดหลายแห่ง การได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน จึงถือเป็นความร่วมมือช่วยเหลือการปฏิบัติงานของทีมบุคลากรทางการแพทย์อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาพยาบาลและสร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๕๙ บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) จัดงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ครั้งที่ 53
๑๑:๒๗ TSE ติดปีก! เตรียมรับทรัพย์ขายหุ้นบ.ร่วมค้า TSR 60% มูลค่า 1.79 พันลบ. ผถห.ไฟเขียวเพิ่มทุนขาย PP 211.77
๑๑:๓๒ สงกรานต์นี้ ร่วมฉลองไปกับ One Bangkok, One Lagoon Splashing Songkran Rhythms ที่สุดของความสนุก สดชื่น
๑๑:๓๕ Xbox เตรียมจัดงาน Xbox Games Showcase พร้อมเผยอัปเดตล่าสุดจาก The Outer Worlds 2
๑๑:๐๐ '137 ดีกรี(R)' เอาใจคนรักสุขภาพเปิดตัว นมอัลมอนด์โปรตีนสูง 11 กรัม พร้อมดึง 'ชมพู่ อารยา' เป็นพรีเซนเตอร์ปีที่สอง
๑๐:๑๕ ผถห.TFG อนุมัติจ่ายเงินปันผล 0.225 บ./หุ้น รับทรัพย์ 24 เม.ย.นี้ ปักธงรายได้ปี 68 เติบโต 10-15%
๑๐:๕๙ รพ.จุฬาฯ ปลื้ม ยอดใช้งานแอป CheckPD ทะลุ 50% ชูวาระวันพาร์กินสันโลก ย้ำให้ผู้คนตระหนักรู้จักโรคพาร์กินสัน
๑๐:๐๗ ภูเขาฟ่านจิ้งซาน: สวรรค์บนยอดเขาที่นักเดินทางห้ามพลาด
๑๐:๐๐ เสริมเกราะป้องกันภัยในครอบครัว มูลนิธิศุภนิมิตฯ เปิดพื้นที่กระชับสัมพันธ์พ่อแม่-ลูก ผ่านหลักสูตรครอบครัวสุขสันต์
๑๐:๔๗ จุดเปลี่ยนนโยบายภาษีสหรัฐฯ: ภาษีทรัมป์ เขย่าโลก จับทิศทางการค้าและการปรับตัวของคริปโตในไทย