สมศ. ยก “DLTV” ตัวช่วยปั้นคุณภาพการศึกษา รร.ห่างไกล พร้อมแนะเทคนิค 3 ข้อ ปรับตัวในยุคนิวนอร์มอล

จันทร์ ๐๑ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๔:๐๖
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. เปิดผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลหลายแห่งอยู่ในระดับดี ยกการเรียนผ่านระบบ DLTV สามารถยกระดับคุณภาพสถานศึกษา และผู้เรียนให้เทียบเท่าสถานศึกษาในเมือง เป็นการช่วยลดปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนห่างไกลได้ด้วย นอกจากนี้ยังแนะนำสถานศึกษาทั่วประเทศให้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ทำให้บริบทสังคมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเกิดโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ดังนั้น สถานศึกษาจะต้องพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ โดยครูต้องมีพื้นฐานการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเทคโนโลยี ครูผู้สอนสามารถนำเทคโนโลยีจะสามารถหาความรู้ใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ผู้เรียนได้ตลอดเวลา 2.สามารถสร้างทุกที่ให้เป็นห้องเรียน และ 3.ปรับเปลี่ยนบทเรียนให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมรับมือในสถานการณ์ต่างๆ

นางสาวขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ประเมินคุณภาพสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลที่ผ่านมาพบว่า โดยส่วนใหญ่สถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลมักจะประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน และสื่อการเรียนการสอน แต่ทางสถานศึกษาได้มีการบูรณาการโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจากการส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) พบว่า มีสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลสมัครใจเพื่อขอเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกมีจำนวนมากขึ้น และจากการลงพื้นที่ประเมินโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ผ่านมา พบว่า ผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ระดับดีหลายแห่ง ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลให้โรงเรียนได้รับผลการประเมินในระดับดีนั้น มีดังนี้ 1.การบูรณาการการสอนผ่าน DLTV กับการเรียนปกติเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูประจำรายวิชา 2.ครูผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียน ทำให้ทราบถึงจุดอ่อนของผู้เรียน และสามารถเติมเต็มความรู้ได้อย่างเหมาะสม 3.สอนได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน โดยการเติมเต็มสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ และสิ่งที่ผู้เรียนถนัดได้ 4.นำบริบทของชุมชนมาเชื่องโยงเข้ากับการเรียนสอน เป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และ 5.นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการสอนจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้

“อีกหนึ่งแนวทางที่ทำให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน คือการนำเอาระบบดีแอลทีวี (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมาบูรณาการกับการเรียนการสอนในบางรายวิชา เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านบุคลากรไม่เพียงพอ ถือว่าเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ เพราะจากการเข้าไปประเมินพบว่าแนวทางการใช้ DLTV ในการสอนนั้นส่งผลดีต่อตัวผู้เรียนทั้งด้านการเรียนรู้ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้เรียนในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลมีระดับผลการเรียนดีเทียบเท่ากับโรงเรียนที่อยู่ในเมือง นอกจากนี้ตัวผู้เรียนยังเกิดความกระตือรือร้นในการตั้งคำถาม และสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนได้เรียนในบทเรียนที่เหมือนกับโรงเรียนในส่วนกลาง ดังนั้นรูปแบบการสอนในลักษณะการนำเอา DLTV มาบูรณาการร่วมด้วยจึงถือว่าเป็นการลดความไม่เท่าเทียมในระบบการศึกษาแก่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล”

นางสาวขนิษฐา กล่าวต่อว่า แนวทางดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้สถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลนำระบบออนไลน์ไปใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการขยายระบบดังกล่าวไปยังโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหลายแห่งเพื่อแก้ไขปัญหา แต่การเรียนผ่านระบบ DLTV จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทางโรงเรียนจะต้องจัดครูผู้สอนเข้าไปดูแลผู้เรียนในระหว่างชั่วโมงเรียนร่วมด้วย นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ประเมินสถานศึกษาทั่วประเทศสมศ. ยังเห็นว่าการเรียนการสอนไม่จำเป็นจะต้องยึดแนวทางปฏิบัติในลักษณะเดิม คือ ผู้เรียนจะต้องได้เรียนกับครูผู้สอน หรือการเรียนจากหนังสือเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการศึกษาค่อนข้างมาก สมศ. เห็นว่าหากสถานศึกษาใดที่สามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนได้เร็วจะเกิดความได้เปรียบมากกว่า ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในยุค (New Normal) อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ดังนี้

ครูผู้สอนจะต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เพราะในปัจจุบันและอนาคตระบบเทคโนโลยี การเรียนออนไลน์ จะเข้ามามีบทบาทกับระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจะสามารถหาความรู้ใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ผู้เรียนได้ตลอดเวลา สร้างทุกที่ให้เป็นห้องเรียน โดยเด็กจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่จำกัดแค่ในห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งที่ครูผู้สอนต้องดำเนินการคือการสร้างกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติ ส่งผลให้เด็กไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้บทเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน การนำประเด็นหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเข้ามาผสมผสานในวิชา จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในแต่ละสถานการณ์ โดยหากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนเด็กจะมีความพร้อมในการรับมือ และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 0-2216-3955 หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025