องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล-อินโดนีเซีย วางใจ เลือก AWS เป็นผู้ให้บริการคลาวด์ เพื่อภารกิจเร่งช่วยลิงอุรังอุตังที่ใกล้สูญพันธุ์

จันทร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๘:๒๒
บริการแมชชีน เลิร์นนิ่ง ของ AWS ช่วยให้ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก อินโดนีเซีย ประเมินสุขภาพและขนาดของประชากรอุรังอุตังทั่วประเทศได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส บริษัทในเครือ Amazon.com เปิดเผยความร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล-ประเทศอินโดนีเซีย (WWF-Indonesia) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเครือข่ายระดับโลกของ WWF เพื่อเร่งความพยายามในการช่วยเหลือลิงอุรังอุตังในอินโดนีเซียที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดย WWF อินโดนีเซีย ใช้บริการแมชชีน เลิร์นนิ่งของ AWS เพื่อช่วยให้รู้ถึงขนาดและสุขภาพของประชากรอุลังอุตังในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสามารถจัดทำสำรวจอาณาเขตได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และเพิ่มช่องทางในการระดมทุนในการอนุรักษ์เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศอินโดนีเซีย

ลิงอุลังอุตังเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ฉลาดที่สุดในโลก มีความสามารถในการประกอบหรือสร้าง ใช้เครื่องมือ และอาศัยอยู่เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง โดยกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการรุกล้ำอาณาเขตเพื่อล่าสัตว์ การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการค้าสัตว์ที่ผิดกฎหมาย ทำให้ประชากรอุรังอุตังลดลงอย่างมาก ทั้งนี้ประชากรอุรังอุตังจะประกอบไปด้วยตระกูลลิงสายพันธุ์ใหญ่ 3 สายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สอดคล้องตามข้อมูลจาก WWF ประชากรลิงอุรังอุตังพันธุ์บอร์เนียว มีจำนวนลดลงมากกว่าร้อยละ 55 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอุรังอุตังส่วนใหญ่รักสันโดษและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ จึงทำให้นักอนุรักษ์ยากที่จะดำเนินการในการนับประชากรลิงที่เหลือได้แม่นยำ

ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา WWF-อินโดนีเซีย ได้ทำการประเมินสุขภาพประชากรอุรังอุตังและอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ขนาด 5,687 ตารางกิโลเมตร ใน Sebangau National Park ในจังหวัดกาลีมันตันกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้ ในการประเมินจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครชุมชนท้องถิ่นเข้าไปที่สถานที่ดังกล่าวทุกวัน เพื่อหาลิงอุรังอุตัง ถ่ายรูป และดาวน์โหลดรูปภาพไว้ในคอมพิวเตอร์ของท้องถิ่นที่อยู่ในเบสแคมป์ และค่อยทำการย้ายข้อมูลกลับไปไว้ที่ในเมืองเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ WWF ทำการวิเคราะห์ กระบวนการที่ต้องทำเองแบบ manual นี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญของ WWF-อินโดนีเซียต้องใช้เวลาถึง 3 วันในการวิเคราะห์รูปภาพครั้งละหลายพันรูป ซึ่งระหว่างกระบวนการอาจจะเกิดความผิดพลาดได้เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก

การใช้ AWS ทำให้ปัจจุบัน WWF-อินโดนีเซีย สามารถรวบรวมรูปภาพจากโทรศัพท์มือถือและกล้องจับภาพเคลื่อนไหวที่เบสแคมป์ได้แบบอัตโนมัติพร้อมกับอัพโหลดภาพเหล่านี้ไปที่ Amazon S3 (Amazon Simple Storage Service) จากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี รวมถึง Amazon SageMaker บริการจัดการแมชชีน เลิร์นนิ่งอย่างเต็มรูปแบบ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และนักพัฒนาสามารถสร้าง ฝึกฝนและใช้โมเดลแมชชีน เลิร์นนิ่งได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมในวงกว้าง ทำให้ WWF อินโดนีเซีย สามารถลดเวลาในการวิเคราะห์จาก 3 วันเหลือเพียงไม่ถึง 10 นาที นอกจากนี้บริการดังกล่าวยังช่วยเพิ่มความแม่นยำและให้ความจำเพาะของข้อมูลซึ่งรวมถึงเรื่องการวัดในแง่มุมต่างๆ ทั้งสัดส่วนของเพศ และอายุ การประเมินความสามารถในการเจริญเติบโตของประชากร รวมถึงสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วว่ามีตัวไหนท้องอยู่ ตัวไหนป่วย หรือกำลังบาดเจ็บและต้องการการรักษาโดยด่วน การนำแมชชีน เลิร์นนิ่งมาใช้ ช่วยให้ WWF-อินโดนีเซีย ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งช่วยเพิ่มความแม่นยำและความครอบคลุมของข้อมูลประชากรอุรังอุตังได้มากยิ่งขึ้น

ในอนาคต WWF-อินโดนีเซีย วางแผนที่จะลองหาทางใช้บริการแมชชีน เลิร์นนิ่งเพิ่มเติม เช่น Amazon Rekognition ซึ่งเป็นบริการวิเคราะห์ภาพและวิดีโอ เพื่อปรับปรุงเรื่องความเร็วและความแม่นยำในการระบุประชากรและการสร้างผลลัพธ์ในการติดตามต่อเนื่อง

“ในฐานะขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เรามองหาวิธีการที่จะช่วยให้ทำงานได้ฉลาดและทันสมัยขึ้นอยู่เสมอ พร้อมกับใช้เงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการดำเนินภารกิจหลักเรื่องการอนุรักษ์ ด้วยการใช้บริการของ AWS อย่าง SageMaker และ Amazon S3

เราเริ่มต้นที่จะทำให้เครื่องมือสามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้สำรวจภาคสนามแม้จะมีความเชี่ยวชาญและความสามารถที่ จำกัด ในการระบุสัตว์ป่าในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติด้วยความแม่นยำระดับสูง เรากำลังจะทำให้เครื่องมือต่างๆ สามารถถึงได้สำหรับนักสำรวจภาคสนาม แม้จะมีความเชี่ยวชาญและความสามารถที่จำกัด เพื่อให้สามารถระบุสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาตได้ด้วยความแม่นยำสูง ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้วยความระมัดระวัง นวัตกรรมนี้จะช่วยให้นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์สามารถ ติดตามพฤติกรรมสัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย และเรายังสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อเพิ่มความพยายามในการติดตามตรวจสอบและเพื่อลงทุนในการดำเนินการด้านการอนุรักษ์มากขึ้น” อาเรีย นากาซาสตรา ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการจัดการของ WWF-อินโดนีเซีย กล่าว “ความร่วมมือระหว่าง WWF อินโดนีเซีย และ AWS บนนวัตกรรมโซลูชันทางเทคโนโลยีใหม่สามารถนำไปสู่โอกาสในการยกระดับแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในอินโดนีเซียไปอีกระดับ” อาเรีย กล่าวเสริม

“การนำเทคโนโลยีคลาวด์มาช่วยสร้างศักยภาพให้กับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นนับเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นของ AWS ในส่วนของภาครัฐ” ปีเตอร์ มัวร์ กรรมการผู้จัดการประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น Worldwide Public Sector อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส กล่าว “เรารู้สึกยินดีที่ได้ช่วย WWF-อินโดนีเซีย เร่งภารกิจในการอนุรักษ์ประชากรอุรังอุตัง และเราให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยคนเหล่านี้คิดค้นนวัตกรรมต่อยอดบน AWS ต่อไปอีกเพื่อช่วยปกป้องสายพันธุ์อื่นๆ ทั่วโลก ที่ใกล้จะสูญพันธุ์”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ