EA ร่วมกับ “กลุ่มช่วยกัน” มอบเครื่องกำจัดเชื้อโรค –เครื่องผลิตโอโซน – หน้ากากความดันบวก

จันทร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๖:๔๘
บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ร่วมกับ"กลุ่มช่วยกัน" ห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ส่งมอบเครื่องกำจัดเชื้อโรคในระบบปรับอากาศ เครื่องผลิตโอโซนกำจัดเชื้อโรค พร้อมหน้ากากความดันบวก ให้กับโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ตามแผนความช่วยเหลือในการส่งอุปกรณ์กำจัดเชื้อโรคให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมทั้งร่วมกันส่งเสริมให้ประชาชนดาวน์โหลดแอป"หมอชนะ"ป้องกันความเสี่ยง และลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์ และลม น้ำมันไบโอดีเซล และได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้วยการลงทุนในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “กลุ่มช่วยกัน” ได้ทำการมอบเครื่องกำจัดเชื้อโรคในระบบปรับอากาศ เครื่องผลิตโอโซนกำจัดเชื้อโรค รวมทั้งหน้ากากความดันบวก ให้แก่โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้ในการดูแลความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับมอบ

โครงการดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมตามแผนดำเนินการที่กลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จัดทำโครงการไว้เพื่อรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ด้วยการริเริ่มจัดตั้ง “กลุ่มช่วยกัน” ขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับสมาชิกและพันธมิตรจำนวนมากที่มีเป้าหมายในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศ ในรูปของกลุ่มอิสระ โดยไม่หวังผลประโยชน์ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และไม่อิงการเมือง

โครงการของกลุ่ม EA และกลุ่มช่วยกันที่ผ่านมา มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การส่งมอบอุปกรณ์กำจัดเชื้อโรคไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง และการร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนดาวน์โหล แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” โดย “หมอชนะ” ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการเปิดเมือง ทำให้ผู้ใช้ได้ทราบความเสี่ยงของตนเองจากกิจกรรมและบุคคลที่ตนเองได้ใกล้ชิดในช่วงเวลา 14 วันที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดเด่นจากการนำ Bluetooth มาทำงานร่วมกับ GPS ทำให้สามารถติดตามได้ว่าผู้ใช้ได้เคยใกล้ชิดผู้ป่วยหรือได้เดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเสี่ยงและใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในระยะรัศมี 5 เมตร จึงทำให้สามารถคัดแยกผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อในวงที่แคบลงได้ รวมทั้งควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังจะเปิดเมืองและการคืนการใช้ชีวิตของคนในสังคม “หมอชนะ” จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการลดโอกาสการเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่ นอกจากนี้ “หมอชนะ” ยังคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แอปพลิเคชัน จึงออกแบบให้มีการแยกการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลประมวลผล (ตำแหน่งของผู้ใช้แอปพลิเคชัน) แยกกันกับข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของผู้ลงทะเบียน ผู้ใช้ทุกรายสามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้แบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous) และไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ไว้ในโทรศัพท์มือถือที่ใช้พกพาประจำตัว ซึ่งใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย สามารถแสดง QR Code เพื่อตรวจสอบก่อนเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ เปรียบเสมือน eHealth Passport หรือ COVID VISA และยังสามารถใช้ร่วมกับไทยชนะได้ โดยยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ