โดยมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ทุกประเทศล้วนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ส่วนใหญ่เติบโตแบบติดลบ ก่อนที่จะขยายตัวช้าๆ ในปีหน้า ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เนื่องจากประเมินว่ามาตรการทั้งการเงินและการคลังทั่วโลกจะช่วยพยุงและผลักดันเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้ในที่สุด ซึ่งไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (GDP) จะติดลบประมาณ -3% ขณะที่ประเทศจีนจะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วโดดเด่นกว่าประเทศอื่น คาดการณ์ว่า GDP ของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ 1.2% และในปีหน้าประเมินว่าจะเติบโต 9% ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจปีนี้คาดว่าเติบโตติดลบอยู่ที่เกือบ -6% และปีหน้าคาดว่าจะฟื้นตัวอยู่ที่ 4.7%
ขณะที่สถานการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นยังมีความผันผวน แต่มองว่าตลาดผ่านจุดต่ำสุดไปในไตรมาสที่ 2 ของปี สะท้อนจากดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้น (Vix index) ซึ่งดัชนีเริ่มปรับตัวลงจากระดับในช่วงก่อนหน้า จึงถือเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะทยอยเข้าไปเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาเหมาะสม ส่วนตลาดตราสารหนี้นั้น นักลงทุนเริ่มคลายความตื่นตระหนกชะลอการเทขายลงแต่ยังคงมีความผันผวน และแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอีกนาน แต่ตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่เป็นอินเวสเมนท์ เกรด ยังเป็นสินทรัพย์น่าลงทุน โดยต้องระมัดระวังเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทขนาดเล็ก
ทั้งนี้ ความปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ยังอยู่กับเราไปอีกระยะ ส่งผลให้คนต้องปรับพฤติกรรมจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น คนดูแลใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ดังนั้น เทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจจะเป็นหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเฮลธ์แคร์ ซึ่งมีความโดดเด่นมาตั้งแต่ต้นปี มีการฟื้นตัวแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นโลก จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลจากหุ้นทั้งสองกลุ่มนี้ช่วยประคองดัชนีเอสแอนด์พี 500 ไม่ให้ลงลึกไปมากนัก และอัตรากำไรต่อหุ้นยังเติบโตเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่น อีกทั้งผลประกอบการออกมาเติบโตกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนอีกกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนคือ หุ้นจีน เพราะจีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยการลงทุนยังคงมีความผันผวน ธีมการลงทุนต่อจากนี้ควรให้น้ำหนักในตราสารหนี้มากกว่าหุ้น เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน แม้แนวโน้มดอกเบี้ยทั่วโลกจะยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอีกนาน
ทีเอ็มบีมีความพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการทางการเงินที่คุ้มค่าในที่เดียว ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าลงทุนเชิงรุกในทุกสถานการณ์ เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น โดยทีเอ็มบีได้คัดสรร 3 กองทุนโดดเด่นที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในยุค New Normal เหมาะกับนักลงทุนที่มีความสามารถในการรับความเสี่ยง และเน้นการถือลงทุนในระยะยาวเพื่อผลตอบแทนที่ดี ได้แก่
กองทุน Global Quality Growth (TMBGQG)ที่กระจายการลงทุนไปทั่วโลก มีการบริหารจัดการที่ดีในเรื่องการซื้อขายหุ้นให้เข้ากับภาวะตลาด เน้นซื้อหุ้นที่น่าสนใจประเภทประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเทรนด์มาแรงในเรื่องของการรักษาสุขภาพ โดยเลือกหุ้นจากผลลัพธ์ของคุณภาพ (Quality), การเติบโต (Growth), การประเมิน valuation และ ผลตอบแทนการลงทุน (capital return) ซึ่งมีการแบ่งเฉลี่ยในอัตราส่วน 25% เท่าๆ กัน แต่ปัจจุบันภาวะตลาดค่อนข้างผันผวนต้องระมัดระวังมากขึ้น จึงมีการปรับค่าเฉลี่ยเพื่อให้เข้ากับภาวะตลาดโลก ซึ่งหุ้นที่กองทุนเข้าไปลงทุน เช่น Microsoft Corp, Apple Inc, Amazon, Nestle SA etc. เป็นต้นกองทุน China Opportunity Fund (TMBCOF) เน้นเลือกหุ้นที่เป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมจากประเทศจีน เช่น ติวเตอร์ออนไลน์เบอร์ต้น Tal Education Group, Alibaba Group ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน, Tencent Holdings บริษัทผลิตเกมชื่อดังอย่าง League of Legends, PUBG, ROV, Clash of Clans และ Honor of Kings ซึ่งเป็นสองบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชีย รวมถึงวีแชทเพย์ (WeChat Pay) แชทออนไลน์ที่กำลังมาแรงประชากรชาวจีนนิยมใช้กว่า 90% รวมถึง Ping An Insurance group กลุ่มธุรกิจประกันภัย ธนาคาร และด้านการเงินในประเทศจีนที่เป็นบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ของจีน เป็นเบอร์ 2 ของโลกกองทุน TMB Global Bond สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกพากันอัดฉีดเม็ดเงินต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีโอกาสดอกเบี้ยจะปรับลดลงอีกระลอก จะส่งผลดีต่อการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ประเภทอินเวสเมนท์ เกรด จึงทำให้ตราสารหนี้เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่น่าลงทุน
ขณะนี้ตลาดหุ้นเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวบ้างแล้ว เชื่อว่านักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ถือเงินสดไว้ในมือ รอจังหวะกลับเข้ามาสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ทีเอ็มบีจึงได้ออกมาตรการช่วยแบ่งเบาภาระให้นักลงทุน โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนลงทุนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า (front ended) หรือสับเปลี่ยน (switching in) ในกองทุนที่ร่วมรายการในระยะเวลาที่กำหนด จึงเป็นโอกาสในการปรับพอร์ต หรือถัวเฉลี่ยต้นทุน และใช้จังหวะนี้ในการปรับมุมมองสู่การลงทุนเชิงรุกแบบสบายกระเป๋า ด้วยความเข้าใจและความระมัดระวัง เพื่อหวังผลตอบแทนในระยะยาว ซึ่งจะเป็นโอกาสในการสร้างรากฐานชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นต่อไป